การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsณัฐวุฒิ ธนาคุณ
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF ณ361ก 2561
Keywordsความผูกพันต่อองค์กร, ความผูกพันต่อองค์การ, องค์กร -- พฤติกรรม -- การบริหาร
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรใน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุบลราชธานีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 2) ศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติ และปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และบุคลากรของมหาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวนรวมทั้งหมด 352 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามที่มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 สถิตที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA Correlation และ Regression ผลการวิจัยพบว่า 1) อายุ สายงานที่ปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัย รายได้ต่อเดือน ความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุบลราชธานีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กับ ความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูง - สูงมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านอิสระในการทำงาน ด้านความเป็นเอกลักษณ์ของงาน ด้านความหลากหลายในการทำงาน ด้านลักษณะการทำงานที่มีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน มีความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูง- สูงมากเรียกลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และพอเพียง ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าและความมั่งคง ในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน ด้านลักษณะการบริหาร และด้านสมดุลระหว่าง ชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ และปัจจัยส่วนบุคคล ของบุคลากรมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับต่ำ - ต่ำมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านมหาวิทยาลัย ด้านสายงานที่ปฏิบัติงาน ด้านกลุ่มสายคณะ อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ชุดตัวแปรทำนายทั้ง 20 ความสัมพันธ์กับตัวแปรความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในระดับสูง (R = 0.779) ค่าสัมประสิทธิ์ การทำนายมีค่า (R² =0.607) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรใน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุบลราชธานีมีทั้งหมด 8 ตัวแปร เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านความก้าวหน้าและความมั่งคงในการทำงาน ด้านสมดุลระหว่าง ชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านรายได้ต่อเดือน ด้านมหาวิทยาลัย ด้านลักษณะการบริหาร ด้านลักษณะ การทำงานที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านสายงานที่ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01

Title Alternate The study of staff's engagement in the public educational institutions : a case study Ubon Ratchathani province