การจัดการเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงแบบ Peer instruction ผนวกการสอนแบบอุปมา

Titleการจัดการเรียนรู้เรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงแบบ Peer instruction ผนวกการสอนแบบอุปมา
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsขันติ เทิดธัญญา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC ข345ก 2560
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การสอนแบบอุปมา, การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การเรียนแบบมีส่วนร่วม, ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน, วงจรไฟฟ้า -- การศึกษาและการสอน
Abstract

การมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้เรียนก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จากการสำรวจพบว่าการสอนแบบมี ปฏิสัมพันธ์ส่งผลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนในระดับปานกลางแต่การสอนแบบบรรยายมีทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนในระดับต่ำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าการนำวิธีการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์มาใช้เพื่อพัฒนาความเข้าใจเรื่องไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่เลือกใช้ คือ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เนื่องจากเป็นการสอนที่เน้นการพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน อย่างไรก็ ตามผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้การสอนแบบอุปมาเข้ามาผนวกด้วย เนื่องจากไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มอง ไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าพร้อมทั้งทำการพัฒนาชุดสาธิตขึ้นมาเพื่อแสดงให้ผู้เรียนเห็นความชัดเจนของการ วัดกระแสและศักย์ไฟฟ้า โดยเน้นความแม่นยำของตัวเลขและพกพาสะดวก ชุดสาธิตนี้พัฒนาขึ้นด้วย Arduino Mega 25 6 0, Arduino Nano V3, Current Sensor (WCS2705) แ ล ะ Voltage and Current Sensor IC (MAX471/MAX472) หลังจากต่อวงจรและเขียนโค้ดเรียบร้อยผู้วิจัยจึงนำอุปกรณ์ ชนิดนี้ไปสอบเทียบกับเครื่องวัดกระแสและศักย์ไฟฟ้า (Agilent 34401A) โดยเครื่องมือมีความละเอียด ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 4 นำข้อมูลที่ได้มาพล็อตกราฟหาสมการเชิงเส้นและค่า R-square อยู่ที่ 0.99 พร้อมทั้งแก้โค้ดเพื่อแสดงค่าการวัดกระแสและศักย์ไฟฟ้าที่แม่นยำ หลังจากนั้นนำชุดสาธิตไปให้ ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเพื่อหาประสิทธิภาพด้วยกันทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ รูปลักษณ์ทั่วไป ความ เชื่อมโยงกับเนื้อหา ความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดี หลังจากนั้นใช้ชุดทดลองกับการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนผนวกกับการสอนแบบอุปมากับนักเรียน มัธยมศึกษา 3 โรงเรียนปทุมราชวงศา พบว่า ความก้าวหน้าทางการเรียนในระดับปานกลาง = 0.31 ต่อด้วยการสำรวจความคิดรวบยอดของผู้เรียนเกี่ยวกับพลังงานด้วยการอุปมาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชี่ยวชาญทางเนื้อหาและความคิดรวบยอดเกี่ยวกับลักษณะพลังงานไฟฟ้า พบว่า ผู้เรียนที่มีคะแนนสูงกว่ามีแนวโน้มมองว่าพลังงานไฟฟ้ามีลักษณะเด่นคือสามารถถ่ายโอนได้และพบลักษณะการอุปมาเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าของผู้เรียนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากการสอนโดยตรง และจากการ สำรวจการอุปมาของผู้เรียนร้อยละ 10.71 มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนทางวิทยาศาสตร์

Title Alternate Learning management of direct current circuit by using peer instruction integrated with an analogy-based approach