การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมต้านทานโรคไหม้ ทนน้ำท่วมฉับพลันและมีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานคล้ายข้าวพันธุ์ กข6 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก

Titleการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมต้านทานโรคไหม้ ทนน้ำท่วมฉับพลันและมีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานคล้ายข้าวพันธุ์ กข6 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsศรีสวัสดิ์ ขันทอง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ศ267ก 2556
Keywordsการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียว, ข้าว--การปรับปรุงพันธุ์, ข้าวเหนียว--การปรับปรุงพันธุ์, เครื่องหมายดีเอ็นเอ
Abstract

ปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ฝนแล้ง และการระบาดของโรคและแมลง เป็นผลเนื่องมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงนับเป็นปัญหาของการปลูกข้าวในพื้นที่อาศัยฝนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป้าหมายสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในบริเวณนี้จึงมุ่งเน้นในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อสภาวะเครียดดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ต้านทานต่อโรคไหม้ ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัย และมีคุณภาพการหุงต้มคล้ายข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ๊นเอช่วยในการคัดเลือก โดยใช้คู่ผสมระหว่างข้าวสวยพันธุ์ปรับปรุง Jasmine IR57514 (RGD07334-34-16: JIR) มีลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน เมล็ดมีกลานหอม และมีคุณภาพการหุงต้มคล้ายข้าวหมอมะลิ กับสายพันธุ์ข้าวเหนียวต้านโรคไหม้สายพันธุ์ปรับปรุง RD6-blast No.334 (334-3-11-1-2-34: RD) ใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบสืบประวัติและทำการคัดเลือกต้นจากฟีโนไทป์ ร่วมกับการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือกในประชากร F2F3 และ F4 โดยคัดเลือกลักษณะทรงต้นตั้งตรงและแตกกอดีในประชากรแต่ละรุ่น และคัดเลือกลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลันเบื้องต้นในประชากร F3 และ F4 ต้นที่ผ่านการคัดเลือกฟีโนไทป์ในแต่ละรุ่นนำมาคัดเลือกจีโนไทป์ของลักษณะเป้าหมาย 5 ลักษณะได้แก่ ลักษณะต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 1 และ 11 (qB11 และ qB111) ลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน (Sub1) ลักษณะความหอม (badh2) ลักษณะข้าวเหนียว (wx) และลักษณะอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ (SSIIa) โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ RM212/RM316 (qB11) RM144/RM1233 (qB111) R10783 (Sub1) Aromarker (badh2) Wx-Glu-23 (wx) และ SNP2340-41 (SSIIa) ตามลำดับ จนได้ประชากร F4 ที่มีลักษณะทรงต้นตั้งตรงและแตกกอดี และมียีน/QTLs ของลักษณะเป้าหมาย 5 ลักษณะ ที่เป็นสายพันธุ์แท้ ประกอบด้วย ลักษณะต้านทานโรคไหม้ทนน้ำท่วมฉับพลัน ความหอม ข้าวเหนียว และอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ (qBl1RD/RD qBl11RD/RD Sub1JIR/JIR badh2JIR/JIR wxRD/RD และ SSIIaJIR/JIR) จำนวน 21 สายพันธุ์ ยืนยันประสิทธิภาพของการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือกลักษณะต้านทานโรคไหม้ ลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน และลักษณะการหุงต้มและรับประทานอาหาร ในประชากร F5 พบว่าข้าวประชากร F5 สามารถต้านทานโรคไหม้ได้ดี (R) ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับข้าวพันธุ์เปรียบเทียบ RD6-blast No.334 มีเปอร์เซนต์การรอดชีวิต และเปอร์เซนต์การยืดตัว 73.4 และ 19.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับข้าวพันธุ์เปรียบเทียบทนน้ำท่วมฉฉฉับพลัน IR57514 เมล็ดมีกลิ่นหอม มีลักษณะข้าวเหนียวมีปริมาณแอมิโลส 5.6 เปอร์เซ็นต์ มีความคงตัวแป้งสุกอ่อนนุ่ม (120.2 มิลลิเมตร) และมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ (6.9 คะแนน) ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับข้าวพันธุ์เปรียบเทียบ Jasmine IR57514 และ กข6 เมล็ดข้าวกล้องมีขนาดความกว้าง ยาว และหนา เท่ากับ 2.03, 6.87 และ 1.64 มิลลิเมตร ตามลำดับ และอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้างของเมล็ดเท่ากับ 3.40 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มข้าวทีมีขนาดเมล็ดยาว มีลักษณะเมล็ดแบบ slender ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) กับข้าวพันธุ์เปรียบเทียบ กข6 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความแม่นยำของการนำเครื่องหมายดีเอ็นเอมาช่วยในการคัดเลือกลักษณะเป้าหมายหลายลักษณะพร้อม ๆ กัน โดยสามารถรวมลักษณะดีเด่นจากข้าวสายพันธุ์พ่อและแม่ และพัฒนาเป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวหอม ต้านทานโรคไหม้ ทนน้ำท่วมฉับพลันและมีคุณภาพการหุงต้มคล้ายข้าวเหนียว กข6 ข้าวสายพันธุ์ดังกล่าวถูกนำไปทดสอบผลผลิตในระดับสถานี ระหว่างสถานี และนาเกษตรกร ก่อนจะแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป

Title Alternate Developing aromatic glutinous rice variety conferring blast resistance, submergence tolerance and RD6-cooking and eating quality through marker assisted selection