การศึกษาแรงจูงใจในการบริการสาธารณะของนักศึกษาไทย : กรณีศึกษานักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleการศึกษาแรงจูงใจในการบริการสาธารณะของนักศึกษาไทย : กรณีศึกษานักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2557
Authorsวิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์, ธนากร มูลพงศ์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD2763 ว651ร 2557
Keywordsการจูงใจในการทำงาน, นักศึกษา, บริการสาธารณะ
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดแรงจูงใจในการบริการสาธารณะ (public service motivation-PSM) (Perry. 1996) ในบริบทประเทศไทย (2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการบริการสาธารณะในหมู่นักศึกษา (3) ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการบริการสาธารณะที่มีต่อการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษา (4) ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการบริการสาธารณะที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และพฤติกรรมสุภาพอ่อนน้อม และ (5) ศึกษาอิทธิพลของการเข้าร่วมกิจกรรมอาสา ในฐานะตัวแปรแทรก (moderator) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริการสาธารณะกับพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และพฤติกรรมสุภาพอ่อนน้อม
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 857 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการทำประชุมกลุ่ม Focus Group การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิต่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุ (MANOVA) การวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงชี่น (hierarchical regression analysis) ตลอดจน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis) ด้วยโปรแกรม AMOS 7.0
ผลการศึกษาเรียงตามวัตถุประสงค์พบว่า;
(1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า แบบวัดแรงจูงใจในการบริการสาธารณะอันประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในบริบทประเทศไทย
(2) ผลการวิเคราะห์ MANOVA พบว่า เพศ, สาขาวิชาเอก, อิทธิพลร่วมของเพศ x สาขาวิชาเอก, เพศ x ชั้นปีที่ศึกษา, และ สาขาวิชาเอก x ชั้นปีที่ศึกษา ส่งผลต่อความแตกต่างในแรงจูงในในการบริการสาธารณะของนักศึกา
(3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบ Binary พบว่า แรงจูงในในการบริการสาธารณะมีอิทธิพลต่อการเลือกประกอบวิชาชีพรับราชการของนักศึกษา
(4) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า แรงจูงใจในการบริการสาธารณะมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และพฤติกรรมสุภาพอ่อนน้อมของนักศึกษา
(5) ผลการวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงชั้น พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมอาสาเป็นตัวแปรแทรก (moderator) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริการสาธารณะกับพฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่น
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ศึกษาเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการประชุมกลุ่ม Focus group กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ผลการศึกษาในเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเพื่อให้ได้แนวทางเพื่อการจัดทำนโยบายและแผนงานเพื่อพัฒนาแรงจูงใจในการบริการสาธารณะของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกด้วย

Title Alternate Public service motivation of Thai students : a case study of the students in faculty of political sciences, Ubon Ratchathani University