การพัฒนาชุดฝึกทักษะ การออกแบบงานหัตถกรรมจักสานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี

Titleการพัฒนาชุดฝึกทักษะ การออกแบบงานหัตถกรรมจักสานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsพิมพ์พิรุฬห์ มณีศรี
Degreeศิลปประยุกต์ศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTT พ718ก 2555
Keywordsการออกแบบงานหัตถกรรม, ทฤษฎีสี--การศึกษาและการสอน, สี--การศึกษาและการสอน, หัตถกรรม--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา), หัตถกรรมเครื่องจักสาน
Abstract

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาชุดฝึกทักษะ การออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสีมาใช้ในงานจักสานของตน ซึ่งผลงานของนักเรียนไม่เน้นที่ความละเอียดประณีตของลวดลาย เพียงให้นักเรียนสามารถสร้างผลงานได้ตามวัยและความสามารถของตน และนำทฤษกีมาใช้เพื่อให้เกิดความสดใส สามารถใช้สอยผลิตภัณฑ์ได้เป็นหลัก จึงได้นำแนวคิดมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี และ 3) เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้เรื่องทฤษฎีสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้ยประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยชุดฝึกทักษะ การออกแบบงานหัตถกรรมจักสานสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองขอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยสามารถจำแนกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1) ส่วนของการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ทฤษฎีสี พบว่า ชาวบ้านหนองขอนยังคงนิยมใช้เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์ที่มีมากในชุมชนบ้านหนองขอน คือ กระติบข้าวและหวดนึ่งข้าวเหนียว เพราะชาวบ้านหนองขอนเป็นคนอีสาน นิยมบริโภคข้าวเหนียว จึงมีกระติบข้าวและหวดทุกครัวเรือน เครื่องจักสานในหมู่บ้านหนองขอน เป็นเครื่องจักสานเกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ส่วนมากจะใช้ในครัวเรือน ใช้ในการประมง การเกษตร และพิธีกรรม ลายสานที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ ลายขัด และนักเรียนสามารถสานแผ่นได้เท้านั้น เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องวัย สมาธิ ความอดทนในการทำงาน ดังนั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ จึงควรเป็นลายที่ง่าย เป็นการสานแบบแผ่น หากต้องการประกอบเป็นรูปทรงต่าง ๆ ก็ทำได้โดยการนำแผ่นมาประกอบเข้าเป็นรูปทรง 2) ส่วนของการพัฒนาชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ทฤษฎีสี พบว่า ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีผลการประเมินดังนี้ มีรูปแบบเหมาะสม กระตุ้นให้เกิดความสนใจอยากเรียนรู้ ขนาดของตัวอักษรมีความเหมาะสมกับผู้เรียน แจ้งขั้นตอนการใช้ชุดฝึกทักษะไว้โดยละเอียด ใบความรู้สามารถศึกษาให้เข้าใจได้โดยง่าย เนื้อหา ถูกต้อง เหมาะสม มีตัวอย่างประกอบให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน โดยมีผลการประเมิน สรุปว่า อยุ่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.77) 3) ส่วนของการแก้ปัญหาการเรียนรู้เรื่องทฤษฎีสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยชุดฝึกทักษะ การออกแบบงานหัตถกรรมจักสาร สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี พบว่า เมื่อทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองขอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 12 คน โดยทำการทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้ทฤษฎีสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เท่ากับ 20.33 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 67.78 จากนั้นจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดฝึกทักษะเป็นสื่อในการเรียนรู้ และเมื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จสิ้น ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดิมกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนแล้ว ทำการตรวจผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสี พบว่า คะแนนเฉลี่นจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน เท่ากับ 32.33 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.83 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะ การออกบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ทฤษฎีสีมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 80.83 และมีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการออกแบบงานหัตถกรรมจักสาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ทฤษฎีสี มีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Title Alternate The development of a skill set for woven handicraft design using color theory