การพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ด สำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

Titleการพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ด สำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsสุวิทย์ อินทิพย์
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณทิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP ส881ก
Keywordsการออกแบบผลิตภัณฑ์--ไทย (ภาคกลาง), ชุมชนมอญ, ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย, ศิลปกรรมร่วมสมัย--ไทย (ภาคกลาง), หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา, เครื่องปั้นดินเผา--การผลิต, เครื่องปั้นดินเผา--การออกแบบ
Abstract

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนมอญเกาะเกร็ด มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงถึงภูมิปัญญาและความสามารถของช่างผู้ผลิต ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของชุมชนมอญมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมอญปากเกร็ด รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กระบวนการผลิต การตลาด สภาพปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนมอญปากเกร็ด การตลาดและการแก้ปัญหา 3) เพื่อการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กรรมวิธีการผลติที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ดและตรงตามความต้องการของตลาดในอนาคต ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสำหรับศึกษาข้อมูล คือ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา 2) กลุ่มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค
ผลการวิจัยสรุปได้ 3 ส่วน ดังนี้ 1) ส่วนของการศึกษาวิถีชีวิต รูปแบบ การผลิต การตลาดผลิตภัณฑ์และการแก้ปัญหา พบว่า ชุมชนมอญเกาะเกร็ดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผากันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากชาวมอญมีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผามาแต่โบราณมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปมาแต่อดีต สำหรับประเภทของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมผลิตในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ ประเภทสิ่งของ เครื่องใช้ และประเภทสวยงาม ที่นิยมอยู่เดิม 2) ส่วนของการพัฒนาคุณภาพวัสดุและกระบวนการผลิต พบว่า สีของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมใช้อยู่เดิมมี 2 โทนสี คือ สีดินแดง และสีดินดำ ในการนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองเกี่ยวกับการให้สีผลิตภัณฑ์ พบว่า สีสำหรับเขียนลวดลายโดยใช้วิธีการเขียนสีในเคลือบเพื่อเพิ่มสีและลวดลายให้ผลิตภัณฑ์ จากการทดลองใช้ส่วนผสมของน้ำเคลือบและสีสำเร็จรูปในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามมากขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 3) สำหรับส่วนของการพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ดเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด คือ ประเภทงานวิจิตร จากผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า แนวทางการประยุกต์ใช้งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปากเกร็ด ต้องคำนึงถึงแนวคิดการออกแบบและพัฒนา 5 ประการ คือ 1) ลักษณะเฉพาะถิ่น 2) ความสวยงาม 3) ประโยชน์ใช้สอย 4) ขนาดสัดส่วน 5) กรรมวิธีการผลิต ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองพัฒนากระบวนการผลิตและประเมินผลการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดทั้ง 5 ประการ พบว่า เป็นแนวทางที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ได้และมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

Title Alternate The development of contemporary products from the Pak Kret ethic Mon-style pottery
Fulltext: