การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการเฟนตันร่วมกับการสร้างตะกอน

Titleการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยกระบวนการเฟนตันร่วมกับการสร้างตะกอน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsสุกัญญา กาญจนธำรง
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ส739ก
Keywordsกระบวนการเฟนตัน, การบำบัดน้ำเสีย, การสร้างตะกอน, น้ำเสีย--การบำบัด, น้ำเสีย--การบำบัด--การเติมอากาศ, น้ำเสีย--การบำบัด--วิธีทางชีวภาพ, โรงงานแป้งมันสำปะหลัง--การกำจัดของเสีย
Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยวิธีการเฟนตันร่วมกับการสร้างตะกอน สารแคลเซียมออกไซด์สังเคราะห์จากเปลือกไข่เผาและสารแคลเซียมออกไซด์ถูกใช้เป็นสารสร้างตะกอนซึ่งถูกนำมาวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะด้วยเครื่อง SEM XRD และ FTIR พบว่า สารแคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่เผามีลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างผลึกคล้ายกับสารแคลเซียมออกไซด์ การทดลองที่ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกศึกษาผลของชนิดและปริมาณสารสร้างตะกอนที่มีต่อประสิทธิภาพการบำบัดด้วยกระบวนการสร้างตะกอน โดยปรับ pH เป็น 8 เวลากวนผสม 20 นาทีและเวลาในการตกตะกอน 30 นาที พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดค่าซีโอดีของสารแคลเซียมออกไซด์สูงกว่าสารแคลเซียมออกไซด์สูงกว่าสารแคลเซียมออกไซด์ที่สังเคราะห์จากเปลือกไข่เผา คือ มีค่าเท่ากับ 79.62±1.24% และ 67.50±00% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดค่าของแข็งแขวนลอยของสารแคลเซียมออกไซด์และสารแคลเซียมออกไซด์ที่สังเคราะห์จากเปลือกไข่มีค่าใกล้เคียงกัน คือ มีค่าเท่ากับ 83.85±1.05% และ 83.27±2.61% ตามลำดับ และปริมาณสารสร้างตะกอนที่เหมาะสมเท่ากับ 4 g/L ส่วนที่ 2 ศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วน H2O2:Fe2+ ต่อประสิทธิภาพการกำจัดด้วยกระบวยการเฟนตัน โดยปรับค่า pH เป็น 3 เวลากวนผสม 120 นาทีและเวลาในการตกตะกอน 30 นาที พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมได้แก่ 1,000:1000 mg/L:mg/L มีประสิทธิภาพในการกำจัดค่าซีโอดีและของแข็งแขวนลอยเท่ากับ 85.28±2.75 % และ 93.73±0.58 % ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วของทั้ง 2 ส่วน มีค่าเกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งที่ได้รับอนุญาต ดังนั้นจึงทำการศึกษาส่วนที่ 3 คือกระบวนการเฟนตันร่วมกับการสร้างตะกอน โดยทำการทดลองเหมือนส่วนที่ 2 แต่หลังสิ้นสุดปฏิกิริยาเฟนตันแล้ว ทำการเติมสารสร้างตะกอนทันที พบว่าประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดค่าซีโอดีและของแข็งแขวนลอย เท่ากับ 95.66±0.26% และ 98.63±0.81% ตามลำดับ โดยน้ำทิ้งหลังการบำบัดมีคุณภาพน้ำเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง ถึงแม้ว่าค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดเพิ่มขึ้นหลังการบำบัด

Title Alternate Wastewater treatment from tapioca starch wastewater by fenton process combined with coagulation