กำลังรับแรงอัดและคุณสมบัติสำหรับใช้งานของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า

Titleกำลังรับแรงอัดและคุณสมบัติสำหรับใช้งานของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsปภาวิน สินรัมย์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA ป164ก
Keywordsกำลังรับแรงอัด, คอนกรีต--การทดสอบ, คอนกรีตน้ำหนักเบา, คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า
Abstract

คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าเป็นมอร์ต้าที่ผสมฟองอากาศหรือโฟมเหลว คงรูปให้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีตแทนการใช้มวลรวมหยาบ เพื่อลดความหนาแน่นของคอนกรีตคุณสมบัติของคอนกรีตมวลเบาเซลลูล่าขึ้นกับค่าหน่วยน้ำหนัก คอนกรีตที่มีส่วนผสมของฟองอากาศมากจะมีความพรุนสูงและน้ำหนักเบา คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่าหน่วยน้ำหนักตั้งแต่ 800 ถึง 1,800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.45 และ 0.55 และอัตราส่วนทรายต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.25:1, 0.5:1, 1:1, 2:1 และ 3:1 รวมทั้งหมด 860 ชิ้นตัวอย่าง ออกแบบและผลิตเพื่อศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ผลดังนี้ (1) กำลังรับแรงอัดที่อายุ 56 วัน สำหรับตัวอย่างทดสอบทรงลูกบาศก์ มีค่าระหว่าง 17.9-241.6 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และสำหรับตัวอย่างทรงลูกบาศก์ มีค่าระหว่าง 14.1-185.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และสำหรับตัวอย่างทดสอบทรงลูกบาศก์ มีค่าระหว่าง 14.1-185.0 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (2) อัตราการหดตัวแบบแห้งมีค่าอยู่ในช่วง 0.055-0.218 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุ 28 วัน และอยู่ในช่วง 0.093-0.336 เปอร์เซ็นต์ที่อายุ 448 วัน (3) ปริมาณฟองอากาศมีค่าอยู่ในช่วง 13.35-64.74 เปอร์เซ็นต์ และ (4) ค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนอยู่ระหว่าง 0.168-0.189 วัตต์ต่อเมตร องศาเคลวิน

Title Alternate Compressive strength and properties of cellular lightweight concrete