ฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเพื่อใช้สำหรับผมหงอกก่อนวัย

Titleฤทธิ์ชีวภาพของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเพื่อใช้สำหรับผมหงอกก่อนวัย
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2556
Authorsชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา, เพียงเพ็ญ ธิโสดา, กฤตติยารัตน์ สมวงศ์
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRS164 ช616
Keywordsกราวเครือขาว--เภสัชฤทธิวิทยา, การรักษาด้วยสมุนไพร, การสร้างเม็ดสี, บัวบก--เภสัชฤทธิวิทยา, ผมหงอกก่อนวัย, พืชสมุนไพร, ย่านาง--เภสัชฤทธิวิทยา, สมุนไพร--เภสัชวิทยา, สมุนไพรพื้นบ้าน, สารสกัดสมุนไพร, หม่อน--เภสัชฤทธิวิทยา, อัญชัน--เภสัชฤทธิวิทยา
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการสังเคราะห์เมลานินของสารสกัดด้วยน้ำเมทธานอล เอทธิลอะซิเตท และเฮกเซนของสมุนไพรไทย จำนวน 5 ชนิด คือ อัญชัน ย่านาง บัวบก หม่อน และกาวเครือขาว โดยศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ป้องกันเซลล์เมลาโนไซท์จากสารอนุมูลอิสระไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ฤทธิ์กระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ ฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ไทโรซิเนส และฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินผลการทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ด้วยวิธี DPPH assay, ABTS assay และ FRAP assay พบว่า สารสกัดด้วยเมทธานอล และน้ำของย่านาง มีฤทธิ์ออกซิเดชันดีที่สุด โดยมีค่า EC50, VEAC, TEAC และ FRAP value เท่ากับ 61.8 µg/ml
, 2.00 mM, 0.77 mM และ 546.9 mM ตามลำดับ และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกโดยรวม เท่ากับ 82.8 µg GAE/mg ของน้ำหนักผงแห้ง ผลการทดสอบฤทธิ์ป้องกันเซลล์เมลาโนไซท์จากสารอนุมูลอิสระไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้น 2 mM ด้วยวิธี MTT assay พบว่า สารสกัดด้วยน้ำของบัวบก ย่านาง และอัญชัน มีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ได้ดี โดยมีค่าร้อยละการรอดชีวิต เท่ากับ 89.62%, 83.14% และ 80.62% ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์เมลาโนไซท์ ด้วยวิธี MTT assay พลบว่า สารสกัดด้วยเมทธานอลของอัญชัน สารสกัดด้วยน้ำของย่านาง และสารสกัดด้วยเฮกเซนของบัวบกมีฤทธิ์ที่ดี โดยมีค่าดัชนีการเพิ่มจำนวนเท่ากับ 1.73, 1.59 และ 1.25 ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยวิธี tyrosinase activity assay พบว่า สารสกัดด้วยเอทิลอะซิเตทของย่านาง และบัวบก และสารสกัดด้วยเฮกเซนของอัญชัน มีฤทธิ์ที่ดี โดยมีค่าดัชนีการกระตุ้นเท่ากับ 12.78, 12.72 และ 9.92 ตามลำดับ ในขณะที่ผลการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ไทโรซิเนสในเซลล์เพาะเลี้ยง ด้วยวิธี DOPA oxidase activity assay พบว่า สารสกัดด้วยเมทธานอลของอัญชันและบัวบก และสารสกัดด้วยเอทธิลอะซิเตทของย่านางมีฤทธิ์ที่ดี โดยมีค่าร้อยละเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเท่ากับ 157.97, 147.01 และ 144.61 ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินในเซลล์เมลาโนไซท์ ด้วยการวัดปริมาณเมลานิน พบว่า สารสกัดด้วยน้ำของบัวบก และย่านางและสารสกัดด้วยเอทธิลอะซิเตทของอัญชันมีฤทธิ์ที่ดีโดยมีค่าร้อยละ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมเท่ากับ 231.11, 183.33 และ 166.66 ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินในขนของหนู C3H/HeJ Jel ที่ถูกโกนขนบริเวณหลัง โดยการป้อนสารสกัดสมุนไพรที่มีความเข้มข้น 100 mg/ml 0.2 cc เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า สารสกัดด้วยเมทธานอลของบัวบกและสารสกัดด้วยเอธิลอะซิเตตของอัญชัน มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินในขนบริเวณหลังดีที่สุด ส่วนสารสกัดด้วยน้ำและเมทธานอลอย่างย่านางมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินในขนบริเวณท้องได้ดีที่สุด และเมื่อทดสอบด้วยน้ำและเมทธานอลของย่านองมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานินในขนบริเวณท้องได้ดีที่สุด และเมื่อทดสอบสาระสำคัญเบื้องต้นในพืชพบว่า สมุนไพรส่วนใหญ่ มีสาระสำคัญในกลุ่ม alkalaoids, anthraquinones, anthrones, coumarins, cardiac glycosides, flavonoid, carotenoid, tannin, xanthone และ cardenolides งานวิจัยนี้สรุปได้ว่า พืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์เมลานิน มีศักยภาพในการนำไปพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบเวชสำอางสำหรับผมหงอกก่อนวัยได้ในอนาคต คือ ย่านาง อัญชัน และบัวบก

Title Alternate Biological activities of extracts from Thai traditional medicinal plants for grey hair treatment