การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการสักขาลายโบราณ

Titleการศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการสักขาลายโบราณ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2557
Authorsอรุณี มะฎารัก
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberGN419.3 อ418 2557
Keywordsการสัก, การสักผิวหนัง, การสักลาย, ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--การสัก, ระบบสารสนเทศ, วัฒนธรรมการสักขาลาย
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อวัฒนธรรมการสักขาลายโบราณ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศที่เหมาะสมแก่การจัดเก็บเผยแพร่ข้อมูลวิถีการสักขาลายโบราณ 3) ศึกษาแนวทางการเผยแพร่และอนุรักษ์วัฒนธรรมการสักขาลายโบราณให้คงอยู่คู่วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน การวิจัยเชิงพัฒนา ดังนั้นจึงอาศัยกระบวนการตีความ เน้นการศึกษาข้อมูลด้านวัฒนธรรม โดยการประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้เทคนิคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเครื่องมือวิจัยที่สำคัญได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเครื่องมือทางด้านการพัฒนาระบบ ได้แก่ ภาษา PHP JavaScript HTML5 CSS3 และ Server5Go การพัฒนาระบบเน้นกระบวนการ SDLC ประกอบด้วย 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) การศึกษา และการกำหนดปัญหา 2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3) การออกแบบระบบ 4) การพัฒนาระบบ 5) การทดสอบระบบ และ 6) การนำไปใช้งานและการบำรุงรักษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน 25 คน จากโรงเรียนปลาค้าววิทยานุสรณ์ จังหวัดอุบลราชธานี นักศึกษา จำนวน 48 ชั่วโมง ที่เรียนในรายวิชาหลักการเขียนโปรแกรมประยุกต์เชิงธุรกิจ จากหลักสูตรระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการวิจัยพบว่า ด้านทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรมการสักขาลายโบราณของวัยรุ่นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ คือ มีความสนใจที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม และเห็นคุณค่า ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าอยากจะอนุรักษ์ช่วยกัน และในทางตรงกันข้าม ไม่เห็นด้วยที่จะสักขาลายต่อ เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งสกปรกไม่สวยงาม ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ด้านความเหมาะสมของระบบสารสนเทศ ทั้งด้านลักษณะภาพรวมของระบบ ด้านการใช้งาน และด้านข้อมูล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสี ควรปรับให้เป็นสีโทนสว่างมากขึ้น และขนาดของตัวอักษรปรับให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ด้านแนวทางในการเผยแพร่ จัดทำเป็นสื่อที่มัลติมีเดีย เช่น สารเคมี แฟนเพจในเฟสบุ๊ก สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เว็บไซต์ หนังสือ และวารสาร เป็นต้น อุปสรรคในการเผยแพร่วัฒนธรรมสักขาลายโบราณ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเสาะแสวงหาข้อมูลเชิงลึก เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอดวัฒนธรรมนี้แล้ว การสักขาลายโบราณกำลังจะสูญหายไป ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจากเอกสาร การเล่าปากต่อปาก กอปรกับคนในปัจจุบันไม่มีความนิยมสักขาลายแล้ว

Title Alternate Study and development of information system to preserve legs immemorial tattoo culture