สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

Titleสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsสายรุ้ง สมาธิ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการปกครอง
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJQ ส661ส 2555
Keywordsการมีส่วนร่วมทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ศรีสะเกษ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ศรีสะเกษ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Abstract

งานวิจัยเรื่องสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งกฎหมายบัญญัติรับรองไว้และเพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างกว้างขวาง ได้แก่ สิทธิการเลือกตั้ง สิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิการขอถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น สิทธิการเลือกตั้ง สิทธิการสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิการขอถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น สิทธิการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น สิทธิการขอข้อมูลข่าวสารทางราชการ สิทธิการตรวจสอบการบริหารงานโครงการ สิทธิการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและจารีต ประเพณีอันดีงามท้องถิ่นและทราบว่าตนมีหน้าที่ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พบว่าในทางปฏิบัติ ประชาชนไปใช้เพียงสิทธิการเลือกตั้งและสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านอื่น ๆ กลับใช้น้อยมาก ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากการที่ประชาชนให้ความสำคัญกับประกอบอาชีพและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าของครอบครัวมากกว่าที่จะมาเรียกร้องสิทธิ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ประชาชนเห็นว่าผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลต่างหากเป็นผู้มีอำนาจทางการบริหารสั่งการและการขาดผู้นำภาคประชาชน เป็นแกนนำการเรียนร้องสิทธิดังกล่าว ดังนั้นงานศึกษาชิ้นนี้จึงสรุปได้ว่า ประชาชน มีการรับรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด แต่มีเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ตลอดจนการขาดแกนนำสำคัญในการเรียนร้องสิทธิ ทำให้การรับรู้ดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติ

Title Alternate The rights to political participation of people's in sub-district administrative organization: a case study of Doon sub-district administrative organization, Kantararom District, Sisaket