การแยกกรดซัคซินิคจากน้ำหมักจำลองโดยกระบวนการนาโนฟิลเตรชัน

Titleการแยกกรดซัคซินิคจากน้ำหมักจำลองโดยกระบวนการนาโนฟิลเตรชัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsกิติยา ศรีบุตร
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP ก677ก 2557
Keywordsกรดซักซินิก, การแยกด้วยเมมเบรน, นาโนฟิลเตรชัน, น้ำหมัก
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายโอนมวลสารการแยกกรดซัคซินิคในน้ำหมักจำลองโดยกระบวนการนาโนฟิลเตรชัน โดยทำการทดลองด้วยชุดการกรองแบบไหลตายตัวและเยื่อกรองนาโน รุ่น ESNA-1-4040 ความเข้มข้นของสารละลายซัคซินิคในน้ำหมักจำลองโดยกระบวนการนาโนฟิลเตรชัน โดยทำการทดลองด้วยชุดการกรองแบบไหลตายตัวและเยื่อกรองนาโน รุ่น ESNA-1-4040 ความเข้มข้นของสารละลายซัคซิเนตอ้างอิงมาจากการหมักกลูโคสด้วยแบคทีเรียสายพันธุ์ Anaerobiospirillum succiniproducens โดยความเข้มข้นซัคซิเนตอยู่ที่ 0.1 M แอซิเตทความเข้นข้น 0.05 M การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกการเพิ่มความดันทรานสเมมเบรนในช่วง 40-60 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่งผลให้การถ่ายโอนมวลสารของโพแทสเซียมซัคซิเนตและโพแทสเซียมแอซิเตทลดลง ส่วนที่ 2 ผลการทดลองของ Binary-solute solution สอดคล้องกับ Single-solute solution ความดันทรานสเมมเบรนที่เพิ่มทำให้แอซิเตทไอออนถ่ายโอนมวลสารเพิ่มขึ้น การถ่ายโอนมวลสารที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดการแยกขึ้นส่วนที่ 3 อิทธิพลของการเติมอิเล็กโตรไลต์ต่อการแยกในสารละลาย Ternary-solute solution ด้วยเกลือโซเดียมคลอไรด์และเกลือโซเดียมซัลเฟต อิเล็กโตไลต์ของคลอไรด์ไอออนและซัลเฟตไอออนส่งผลให้ซัคซิเนตไอออนและแอซิเตทไอออนถ่ายโอนมวลสารต่ำกว่า Binary-solute solution การเติมอิเล็กโตรไลต์จึงทำให้ประสิทธิภาพการแยกลดลง ในการทดลองการแยกแบบนาโนฟิลเตรชันในน้ำหมักจำลองความบริสุทธิ์และผลที่ได้ของซัคซิเนตผ่านการกรองที่ดีที่สุดคือ Binary-solute solution โดยมีค่าอยู่ที่ร้อยละ 69.76 และ 51.83 ตามลำดับ

Title Alternate Separation of succinic acid from simulated fermentation broth by nanofiltration process
Fulltext: