การผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินโดยเชื้อราและการนำไปประยุกต์ใช้ในการฟอกย้อมสีผม (ส่วนที่ 1)

Titleการผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินโดยเชื้อราและการนำไปประยุกต์ใช้ในการฟอกย้อมสีผม (ส่วนที่ 1)
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2559
Authorsปราณี พัฒนพิพิธไพศาล
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQP601 ป445ก 2559
Keywordsการผลิตเอนไซม์, การฟอกสีเมลานิน, การย้อมสีผม, การหมัก, เชื้อรา, เอนไซม์--การใช้ประโยชน์, เอนไซม์วิทยา
Abstract

การแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีกิจกรรมการฟอกสีเมลานินจากตัวอย่างดิน อากาศ น้ำเสีย และเส้นผม รวมทั้งหมด 13 ตัวอย่าง บนอาหารเลี้ยงเชื้อ melanin agar medium บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7-30 วัน สามารถคัดแยกเชื้อที่สามารถฟอกสีเมลานินโดยให้บริเวณใสรอบ ๆ โคโลนีจำนวน 7 ไอโซเลท เป็นเชื้อแบทีเรียจำนวน 4 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท MA3, MS1, MS2 และ MH1 และเชื้อราจำนวน 3 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท MA1, MA2 และ MA4 เมื่อทำการคัดเลือกพบว่า ไอโซเลท MA4 มีค่า enzyme activity ratios สูงสุดเท่ากับ 2.04 นำเชื้อราไอโซเลท MA4 มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา 18S rRNA sequencing และวิเคราะห์เปรียบเทียบหาลำดับเบสที่เหมือนกันที่สุดโดยใช้ BLAST search สามารถจัดจำแนกเชื้อราไอโซเลท MA4 เป็น Aspergillus flavus MA4
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบการผลิตเอนไซม์ฟอกสีเมลานินด้วยกระบวนการหมักแบบอาหารแข็งและกระบวนการหมักแบบอาหารเหลวพบว่าเอนไซม์ที่ได้จากกระบวนการหมักแบบอาหารแข็ง (35.29 units/ml) มีกิจกรรมสูงกว่าเอนไซม์ที่ได้จากกระบวนการหมักแบบอาหารเหลว (1.08 units/ml) สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ คือ ปริมาณขี้เลื่อยและกัวอีคอลที่เหมาะสมในอาหารเลี้ยงเชื้อ sawdust medium คือ 11 กรัม และ 3.0 มิลลิกรัมตามลำดับ พีเอชเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6.0 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 วัน ภายใต้สภาวะการผลิตที่เหมาะสมเชื้อราผลิตเอนไซม์ที่มีกิจกรรมเอนไซม์ฟอกสีเมลานินเท่ากับ 41.54 units/ml ผลการทดลองที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการขยายขนาดการผลิตเพื่อนำเอนไซม์ฟอกเมลานินนำไปใช้ประโยชน์ในการฟอกย้อมสีผมต่อไป

Title Alternate Production of melanin-bleaching enzyme by microorganism and its application in human hair melanin decolorization (part-I)