การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนแบบ Vertical ports โดยวัสดุพรุนชนิดเซลลูลาร์เปิดและแบบลวดตาข่ายสแตนเลส

Titleการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนแบบ Vertical ports โดยวัสดุพรุนชนิดเซลลูลาร์เปิดและแบบลวดตาข่ายสแตนเลส
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2560
Authorsบงกช จันทมาส, อนิรุตต์ มัทธุจักร์
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTH7454 บ113ก 2560
Keywordsประสิทธิภาพเชิงความร้อน, วัสดุพรุนชนิดเซลลูลาร์, วัสดุพรุนแบบลวดตาข่ายสแตนเลส, เตาแก๊ส, เตาแก๊ส--การทดสอบ
Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของหัวเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนแบบ Vertical port ที่มีปริมาณการใช้แก๊สแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas, LPG) สูงสุดไม่เกิน 5.78 kW ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.2312-2549 โดยทำการศึกษาอิทธิพลของวัสดุพรุนที่ทำมาจากลวดตาข่ายสแตนเลสและวัสดุพรุนแบบเซลลูลาร์เปิดต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน โดยการทดสอบต้มน้ำตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.2312-2549 และทำการตรวจวัดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของ Firing rate และขนาดของภาชนะอีกด้วย จากการทดสอบพบว่า 1) ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าสูงสุด เมื่อใช้วัสดุพรุนขนาด 16 mpi จำนวน 4 ชั้น โดยประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดมีค่าเท่ากับร้อยละ 61.69 2) เมื่อติดตั้งวัสดุพรุนชนิดเซลลูลาร์เปิด จะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุดร้อยละ 54.00 3) ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อ Firing rate ลดลง 4) ประสิทธิภาพเชิงความร้อนจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อภาชนะมีขนาดเพิ่มขึ้น 5) เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพเชิงความร้อนเปรียบเทียบกับเตาแก๊สแบบมาตรฐาน (Convention burner) พบว่าเปอร์เซ็นต์การประหยัดพลังงานมีค่าสูงถึงร้อยละ 14.47 และ 6) ปริมาณ CO สูงสุดไม่เกิน 699 ppm และปริมาณ NOx สูงสุดไม่เกิน 163 ppm สำหรับทุกการทดสอบที่ติดตั้งวัสดุพรุนขนาด 16 mpi จำนวน 4 ชั้น

Title Alternate Thermal efficiency improvement of household vertical-ports gas stove using open-cellular and stainless steel wire mesh porous