การประยุกต์ใช้สุนทรียสนทนาในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม

Titleการประยุกต์ใช้สุนทรียสนทนาในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsสายรุ้ง สิงห์เรือง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA อ653ก 2560
Keywordsการดูแลผู้ป่วย, การดูแลผู้สูงอายุ, การสนทนา, ข้อเข่าเสื่อม--โรค--ผู้ป่วย--การดูแล, ผู้สูงอายุ--การดูแล, โรคข้อเข่าเสื่อม
Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลตนเองให้อยู่ร่วมกับภาวะโรค และผลจองการประยุกต์ใช้สุนทรียสนทนาในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม โดยการสัมภาษณ์ และกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมถูกจัดขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมได้ร่วมพูดคุย แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ของตนเอง และผู้อื่น โดยอาศัยการฟัง นิ่ง คิด และตกผลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากผู้มีระดับความรุนแรง จำนวน 30 คน ในวันที่ 28-30 มิถุนายน 2560 เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การบันทึกเสียง และการถ่ายภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และขั้นตอน colaizzi เปรียบเทียบความแตกต่าง ผลการประยุกต์ใช้สุนทรียสนทนาในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังโดยใช้สถิติ Wilcoxon sign rank test
จากการประยุกต์ใช้สุนทรียสนทนาในการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม พบว่า
1)กิจกรรมกลุ่มทำให้ผู้เข้าร่วมมีศักยภาพในการดูแลตนเองมากขึ้น อันเกิดจากการเห็นความทุกข์ของผู้อื่น เข้าใจ และยอมรับว่าโรคเกิดจากความเสื่อม และมีกำลังใจมากขึ้น รู้ว่าต้องเรียนรู้และทำอย่างไร (active) เพื่อให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างเหมาะสม เป็นการแสวงหาแนวทางดูแลตนเองในส่วนของสามัญชน (popular sector of health care) ที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็งและยั่งยืน เข้ากับสังคมสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการลดการพึ่งพาในส่วนวิชาชีพ (professional sector of health care) ซึ่งเป็นรูปแบบบริการที่รอรับ (passive) หรือมีส่วนร่วมน้อย อีกทั้งไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการ
2) จากการเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ พิจารณาจากค่าคะแนนเฉลี่ย Knee and Osteoarthritis Outcome Score (KOOS) ใน 5 ข้อย่อย คือ ด้านอาการปวด ด้านอาการอื่น ๆ เช่น อาการบวม การฝืดขัดของข้อเข่า ด้านการทำกิจวัตรประจำวัน ด้านการออกกำลังกาย และนันทนาการ และด้านคุณภาพชีวิต พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง คือ มีอาการปวดลดลง หรือ การใช้งานข้อเข่าดีขึ้นในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่า Wilcoxon sign rank test (p<.05)

Title Alternate The application of dialogue in caring for elderly persons with osteoarthritis of the knee