การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากแกลบโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Titleการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากแกลบโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsเมษยา บุญสีลา
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบ
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNK ม768ก 2559
Keywordsการพัฒนาผลิตภัณฑ์, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การออกแบบ--ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม, การออกแบบผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, แกลบ, แกลบ--การใช้ประโยชน์
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแกลบมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงหัตถกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแกลบซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อประเมินความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งเชิงทดลองและเชิงคุณภาพแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการเลือกพื้นที่ศึกษาเป็นการเลือกแบบเจาะจงภายใต้เงื่อนไขดังนี้ เป็นชุมชนที่ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก มีการปลูกข้าวปริมาณมากและเป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นเด่นวัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาและวิถีชาวนา จึงได้พิจารณาเลือกชุมชนบ้านเมืองหงส์ ตำบลเมืองหงส์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิโลก เป็นพื้นที่ศึกษา ในการวิจัยได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการของชุมชนทุกภาคส่วน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การทดลองและประเมินผลด้วยแบบประเมินความพึงพอใจ
การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแกลบมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงหัตถกรรม ได้ทดลองผลิตแผ่นวัสดุแกลบเชิงอุตสาหกรรมด้วยวิธีการอัดร้อน โดยมีน้ำแป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเชื่อมประสาน จากผลการทดลองคุณสมบัติเชิงอุตสาหกรรมพบว่า แผ่นวัสดุแกลบสามารถทนแรงดัดและแรงยืดหยุ่นในระดับปานกลางซึ่งไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพ แผ่นวัสดุแกลบมีความคงรูปแข็งแรง ผิวเรียบลวดลายสวยงามสะท้อนความเป็นวิถีชาวนา สามารถตัด เลื่อย และเจาะยึดสกรูได้ดี สามารถเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์และยูเรเทนได้เป็นอย่างดีและสามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวันได้
การศึกษาการผลิตด้วยการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากแกลบในเชิงหัตถกรรม ซึ่งเป็นการบูรณาการความคิดของชาวบ้านร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านปูนปั้นแกะสลัก ผสานด้วยความเชื่อและวัฒนธรรมของชุมชน โดยการนำเอาเอกลักษณ์หงส์คำของชุมชนมาปรากฏในผลิตภัณฑ์ ประยุกต์เป็นภูมิปัญญาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแกลบด้วยวิธีการหล่อขึ้นรูปจากแม่พิมพ์ยางพารา โดยใช้ปูนปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ และปูนยาแนวที่หาได้ในท้องตลาดเป็นตัวเชื่อมประสาน พบว่า ตัวเชื่อมประสานที่เหมาะสม ได้แก่ ปูนปลาสเตอร์และปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความแข็งแรง แห้งเร็ว และมีลวดลายของแกลบสวยงาม ง่ายต่อการหล่อและถอดพิมพ์

Title Alternate Community-based participatory design and development of environmentally friendly products from rice husk