การสร้างแก้วกำบังรังสีจากซิลิกาเจลที่เสื่อมสภาพ

Titleการสร้างแก้วกำบังรังสีจากซิลิกาเจลที่เสื่อมสภาพ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsภัทรนิภา กันหะคุณ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาฟิสิกส์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQC ภ365ก 2559
Keywordsการดูดกลืนแสง, การวิเคราะห์สเปกตรัม, ซิลิกาเจล, แก้ว, แก้วกำบังรังสี
Abstract

ตัวอย่างแก้วในระบบ 10SrO-xPbO-(90-x) RSG เมื่อ RSG คือ ซิลิกาเจลที่เสื่อมสภาพ โดย x คือ 20, 25, 30, 35, 40 และ 45 เปอร์เซ็นโดยโมล ได้ถูกเตรียมด้วยเทคนิคการหลอม โดยหลอมที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส แล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว ความหนาแน่นถูกศึกษาโดยอาศัยหลักการของอาร์คีมีดีส ข้อมูลความหนาแน่นถูกนำไปใช้คำนวณหาปริมาตรโดยโมลของตัวอย่างแก้ว ตัวอย่างแก้วทั้งหมดจะถูกนำมาศึกษาความเป็นผลึกและไม่เป็นผลึกด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ และทำการวัดความเร็วคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิกทั้งตามยาวและเฉือนโดยใช้เทคนิคพัลส์เอคโค ข้อมูลความหนาแน่นและความเร็วคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิกถูกนำมาคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบค่าโมดูลัสยืดหยุ่นที่คำนวณได้จากวิธี Makishima-Mackenzie model และวิธี bond compression model ศึกษาสมบัติทางด้านรังสีของตัวอย่างแก้ว โดยจะศึกษาสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลด้วยเทคนิคการส่งผ่านแบบลำรังสีแคบ ที่พลังงานโฟตอน 74.288, 122, 662 และ 1173 กิโลอิเล็กตรอนโวลล์ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้คำนวณความหนาครึ่งค่าและระยะปลอดการชน ผลที่ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรม WinXcom และคอนกรีตกำบังรังสีมาตรฐาน ผลทดลองพบว่า ตัวอย่างแก้วทั้งหมดมีโครงสร้างแบบอสัณฐาน ความหนาแน่น ปริมาตรโดยโมลสมบัติยืดหยุ่นและสมบัติทางด้านรังสีเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนของตะกั่วออกไซด์ และสมบัติทางด้านรังสียังขึ้นอยู่กับพลังงานโฟตอนด้วย ส่วนในวิธีการคำนวณสมบัติยืดหยุ่นพบว่าการคำนวณด้วยวิธี Makishima-Mackenzie model ให้ค่าที่ใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการทดลองมากกว่าวิธี bond compression model

Title Alternate Fabrication of radiation shielding glass from silica gel degradation