การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลและการใช้เป็นอาหารโคเนื้อ

Titleการศึกษาคุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลและการใช้เป็นอาหารโคเนื้อ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsเทอดศักดิ์ ปุระมงคล
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ท668ก 2559
Keywordsกากมันสำปะหลัง, การผลิตเอทานอล, คุณค่าทางโภชนาการ, มันสำปะหลัง--แง่โภชนาการ, อาหารวัว, อาหารสัตว์, โคเนื้อ--อาหาร
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณค่าทางโภชนะจลศาสตร์การย่อยสลายและประเมินพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอล 2) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ประโยชน์ของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนในโคเนื้อ และ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้กากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของโคเนื้อ
การศึกษาที่ 1 ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนะ และจลนพลศาสตร์การย่อยสลายของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมักโดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊ส วางแผนการทดลองแบบ 3*2*3 factorial in completely randomize design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ โดยมี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัย A) สัดส่วนของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลต่อกากแป้งมันสำปะหลัง 3 ระดับ คือ 100:0, 85:15 และ 70:30 ปัจจัย B) การไม่ใช้และการใช้ยีสต์ในการหมักและปัจจัย C) ระดับของกากน้ำตาล 3 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 3 และ 6 รวมทั้งหมด 18 ทรีตเมนต์ ผลการศึกษาพบว่า การลดสัดส่วนของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลลงมีผลทำให้โปรตีนลดลง (P<0.01) ขณะที่ศักยภาพในการผลิตแก๊ส ความสามารถในการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ และค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้จะเพิ่มขึ้น (P<0.01) ปัจจัย B พบว่า การใช้ยีสต์ในการหมักทำให้โปรตีนสูงกว่าไม่ใช้ยีสต์ (P<0.01) และยังพบว่า การใช้ยีสต์ในการหมักจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตแก๊ส (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อความสามารถในการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ และค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับปัจจัย C พบว่า การใช้กากน้ำตาลที่ร้อยละ 3 และร้อยละ 6 มีผลทำให้ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่แตกต่างกัน แต่สูงกว่าการใช้ที่ร้อยละ 0 (P<0.05)
การศึกษาที่ 2 ผลการศึกษาค่าจนพลศาสตร์การย่อยสลายโดยใช้เทคนิคถึงไนลอนของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลหมัก วางแผนการทดลองแบบ 3*2*3 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ โดยมี 3 ปัจจัย เหมือนการทดลองที่ 1 ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเพิ่มสัดส่วนของกากแป้งมันสำปะหลังมีผลทำให้ค่า a ค่า c และ ค่า p ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ขณะที่ค่า b ในกลุ่มที่ใช้สัดส่วนของการใช้กากแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 15 สูงกว่าร้อยละ 0 (P<0.01) แต่การใช้สัดส่วนร้อยละ 0 และร้อยละ 30 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติผลของการไม่ใช้ยีสต์ และการใช้ยีสต์ในการหมัก พบว่า ค่า a และค่า p ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่ค่า b และค่า c ในกลุ่มที่ไม่มีการใช้ยีสต์จะสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ยีสต์ในการหมัก (P<0.01) ผลของกากน้ำตาลที่ระดับ 0, 3 และ 6% พบว่า เมื่อเพิ่มระดับของกากน้ำตาลมีผลทำให้ค่า a เพิ่มขึ้น (P<0.01) ค่า b จะลดลงเมื่อใช้กากน้ำตาลร้อยละ 6 (P<0.01) การใช้กากน้ำตาลที่ร้อยละ 0 และร้อยละ 3 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ขณะที่ค่า C และค่า p ไม่มีความแตกต่างสถิติ จึงสรุปได้ว่า ควรทำการหมักกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลด้วยยีสต์ร่วมกับกากน้ำตาลโดยไม่จำเป็นต้องใช้กากแป้งมันสำปะหลัง

Title Alternate Study on nutritive value of cassava pulp from ethanol production and its use as beef cattle feed