ผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติ

Titleผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsจำลอง อบอุ่น
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD จ378ผ 2559
Keywordsการสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้สะเต็มศึกษา, ปฏิกิริยาเคมี, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน (2) ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ความคงทนในการเรียนรู้ (4) มโนมติหลังเรียน (5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง ถุงประคบร้อนและถุงประคบเย็น และ (6) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง ถุงประคบร้อนและถุงประคบเย็น กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดตัวเลือกสองอลำดับขั้น จำนวน 30 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ จำนวน 5 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา จำนวน 15 ข้อ และ (5) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง ปฏิกิริยาเคมี มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 48.23) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 17.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 15.49) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 1.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบภายหลังเรียน 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างจากสอบหลังเรียนทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับมโนมติหลังเรียน นักเรียนมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการเกิดปฏิกิริยาเคมี ส่วนมโนมติที่คาดเคลื่อนในเรื่องปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.52) นักเรียนสร้างถุงประคบร้อนที่มีอุณหภูมิ 58.77 องศาเซลเซียส จากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำยาล้างห้องน้ำกับโซดาไฟและถุงประคบเย็นที่มีอุณหภูมิ 14.07 องศาเซลเซียส จากปฏิกิริยาระหว่างแม่ปุ๋ยยูเรียกับกรดฟอร์มิก ถุงทั้งสองสามารถคงความร้อนและความเย็นเป็นเวลา 15 นาที

Title Alternate Effects of stem education on grade 11 students' learning achievement of chemical reactions, integrated science process skills, and attitudes
Fulltext: