ทัศนคติของพระภิกษุต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 และข้อเสนอแนวทางการแต่งตั้งพระสังฆราช: เปรียบเทียบมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleทัศนคติของพระภิกษุต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 และข้อเสนอแนวทางการแต่งตั้งพระสังฆราช: เปรียบเทียบมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsพระนพรัตน์ ขนฺติธโร
Degreeรัฐศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการปกครอง
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberBQ พ339 2559
Keywordsการปกครองสงฆ์, ธรรมยุติกนิกาย, พระภิกษุ, พระสงฆ์, สงฆ์--ทัศนคติ, สงฆ์--อุบลราชธานี--ทัศนคติ
Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เปรียบเทียบระดับทัศนคติของพระภิกษุระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 (2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของพระภิกษุมหานิกายและธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 และ (3) เปรียบเทียบข้อเสนอแนะแนวทางการแต่งตั้งของพระภิกษุระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) พื้นที่ในการวิจัย ประกอบด้วย วัด สำนักสงฆ์ สถานปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 พระมหานิกาย 385 รูป กลุ่มที่ 2 พระธรรมยุติกนิกาย 286 รูป รวมทั้งสิ้น 671 รูป
ผลการวิจัยค้นพบว่า
1)ภาพรวมระดับทัศนคติความเห็นต่อการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์เป็นพระสังฆราชองค์ที่ 20 ของประเทศไทย ระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกายนั้น แตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญเนื่องจากว่า มีค่า Sig ที่โปรแกรมคำนวณได้ .041 มีค่าน้อยกว่า α=0.05 และมีค่า f=4.199 จึงยอมรับสมมติฐาน: ความแปรปรวนของผู้ที่มีนิกายแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้น หมายถึง พระภิกษุมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย มีทัศนคติที่แตกต่างกันต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 โดยมีนัยสำคัญ
2)ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของพระภิกษุมหานิกายและธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ปัจจัยด้านระดับพรรษาแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญ ค่า Sig เท่ากับ .001 มีค่า f เท่ากับ 12.455 และปัจจัยด้านระดับการศึกษาแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญ ค่า Sig เท่ากับ .001 และมีค่า f=23.614
3) การเปรียบเทียบข้อเสนอแนวทางการแต่งตั้งของพระภิกษุระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีต่อการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 พบว่า พระภิกษุมหานิกายและธรรมยุติกนิกายมีข้อเสนอแนะแนวทางการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ที่ 20 ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า Sig เท่ากับ .006 มีค่า f=7.590
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย คือ ควรมีการดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับ พ.ศ.2535 และควรที่จะมีการออกกฎหมายยกเลิกสมณศักดิ์ที่มีให้แก่พระสงฆ์ แต่คงไว้ซึ่งตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตในวงการสงฆ์ และลดปัญหาความขัดแย้งของคณะสงฆ์

Title Alternate Attiude of monks toward the appointment of twentieth supreme patriarch of Thailand and appointment suggestions: a comparison of dhammyutika nikaya with maha nikaya in Ubon Ratchathani Province