ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และการทำงานกลุ่มโดยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD

Titleศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และการทำงานกลุ่มโดยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsอัญชนา แข่งขัน
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQA อ524 2558
Keywordsการสอนคณิตศาสตร์, การสอนวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้แบบ SSCS, การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน, เทคนิค STAD
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่มและความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสนมวิทยาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 71 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยสุ่มมาจำนวน 2 ห้องเรียนแล้วจับสลากห้องเรียนทั้ง 2 ห้อง ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 36 คน เป็นกลุ่มทดลองสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5/1 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มทดลองสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 10 แผน แผนละ 50 ยาที แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 15 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-independent Samples test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกตินักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค STAD มีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมากและมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Title Alternate A study of mathematics problem solving abilities and teamwork by SSCS model and STAD teaching technique