การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างฝายต้นน้ำ ลำธารร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลา อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างฝายต้นน้ำ ลำธารร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยลา อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsสุธิดา บุตรภักดิ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTC ส785 2558
Keywordsการจัดการลุ่มน้ำ--อุบลราชธานี, ฝาย--การออกแบบและการสร้าง, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, ลุ่มน้ำห้วยลา, โขงเจียม
Abstract

วัตถุประสงค์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้วางแผน และช่วยในการตัดสินใจกำหนดพื้นที่ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารร่วมกับชุมชนบ้านปากลาที่ใช้ประโยชน์จากลำธารห้วยลา โดยดำเนินการศึกษาในพื้นที่ลำน้ำห้วยลา ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนล่าง พื้นที่ลุ่มน้ำ มีขนาด 5.71 ตารางกิโลเมตร (3,568.89 ไร่) ในการศึกษานี้ได้นำเอาระบบภูมิสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์ตัวแปรทางด้านกายภาพ ชีวภาพที่มีผลต่อการไหลของน้ำ การพังทลายของดิน และการเคลื่อนย้ายตะกอนอัน ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ลักษณะของสิ่งปกคลุมดิน ความลาดชันของพื้นที่ และตัวแปรด้านความพึงพอใจของชุมชน โดยนำตัวแปรทั้ง 4 ชนิด มากำหนดเกณฑ์เป็นค่าคะแนน แล้วประมวลผลในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมถึงการให้ตัวแทนชุมชนบ้านปากลาที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่ และใช้ประโยชน์จากลำห้วยลาโดยตรง ร่วมกันวิเคราะห์หาจุดสร้างฝายที่เหมาะสมผ่านระบบภูมิสารสนเทศที่สร้างขึ้น
ผลการศึกษาพบว่า ระบบภูมิสารสนเทศกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการนำไปวางแผนการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารในลุ่มน้ำห้วยลา ได้เป็น 4 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก 732.20 ไร่ (ร้อยละ 20.51) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง 2,052.46 ไร่ (ร้อยละ 57.51) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย 650.16 (ร้อยละ 18.22) และพื้นที่ที่มีความไม่เหมาะสม 134.07 ไร่ (ร้อยละ 3.76) และตัวแทนชุมชนบ้านปากลา ได้ชี้จุดที่ต้องการสร้างฝาย โดยการเดินสำรวจตามเส้นน้ำห้วยลา ตลอดเส้นน้ำห้วยลา 4.21 กิโลเมตร ตัวแทนชุมชนได้เลือกจุดสร้างฝายในบริเวณลำธารที่เป็นแหล่งน้ำขัง และบริเวณลำธารที่เข้าถึงได้ง่าย จำนวน 20 จุด คือพึงพอใจสร้างฝายในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก จำนวน 5 จุด พึงพอใจสร้างฝายในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง จำนวน 12 จุด พึงพอใจสร้างฝายในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย จำนวน 3 จุด และไม่มีจุดสร้างฝายในพื้นที่ไม่เหมาะสม

Title Alternate Applying an information system to analyze proposed location of check dam with stakeholders: a case study Huai-La watershed of Khong-Jeam district, Ubonratchathani province