การศึกษาการขาดความรับผิดชอบภาครัฐจากคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม

Titleการศึกษาการขาดความรับผิดชอบภาครัฐจากคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2558
Authorsชัยณรงค์ แน่นอุดร
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJF ช383 2558
Keywordsการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, คดีปกครอง, ความรับผิดของราชการ, สิ่งแวดล้อม
Abstract

การศึกษาการขาดความรับผิดชอบภาครัฐจากคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อมต้องการคำถามการวิจัยว่าหน่วยงานภาครัฐขาดมิติความรับผิดชอบในการดำเนินงานภาครัฐด้านใด จนเป็นสาเหตุให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านลบนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยใช้กรอบแนวคิดความรับผิดชอบ 5 ด้าน ของ Jonathan Gs Koppell มาเป็นกรอบในการศึกษา กล่าวคือ หากหน่วยงานภาครัฐใดดำเนินงานโดยมีมิติความรับผิดชอบอันได้แก่ 1) ความโปร่งใส 2) การรับผลของการกระทำ 3) สายการบังคับบัญชา 4) กฎระเบียบข้อบังคับและ 5) ความต้องการของประชาชน ครบทั้ง 5 ด้าน จะทำให้การดำเนินงานภาครัฐมีประสิทธิผล
จากการสำรวจและวิเคราะห์คดีตามคำพิพากษาศาลปกครองอุบลราชธานี ที่มีคำพิพากษาและถึงที่สุดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 5 คดี และจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ได้เลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 คน พบว่า คดีด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองหน่วยงานภาครัฐขาดมิติความรับผิดชอบภายนอก คือ การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและต่อผลอันเกิดจากการกระทำของภาครัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความโปร่งใส และการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนล่าช้าเกินสมควร อันเป็นมิติความรับผิดชอบภายใน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการวางแผนการดำเนินนโยบายภาครัฐ การบริหารงานบุคคลภายในองค์กร และการบริหารจัดการหน่วยงานที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ จนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการดำเนินงานภาครัฐนำเรื่องมาฟ้องร้องคดีในที่สุด

Title Alternate The lack of government accountability: a case study of environmental cases in the administrative court