การเสริมสร้างเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา ด้วยกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ เรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำ

Titleการเสริมสร้างเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา ด้วยกิจกรรมชุมนุมวิทยาศาสตร์ เรื่องการตรวจวัดคุณภาพน้ำ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsพิมพ์ชนก โคตรฉวะ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD พ716ก
Keywordsคุณภาพน้ำ--การวัด--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Abstract

การศึกษาอิสระนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Operation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปรับปรุงเจตคติการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา ผลพลอยได้เพิ่มเติม คือ การปรับผลสัมฤทธิ์การเรียน และนักเรียนได้ฝึกเทคนิค การใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบง่าย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้คาบเวลาในชุมนุมวิทยาศาสตร์จำนวน 4 คาบ คาบละ 3 ชั่วโมง ในภาคการศึกษปลายปีการศึกษา 2550 กลุ่มนักเรียนตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรวมชั้นมัธยมศึกษา 4 5 และ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน แบ่งนักเรียนเป็น 4 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มละ 5 คน คุณภาพน้ำที่นักเรียนศึกษามี 6 อย่าง ได้แก่ ก๊าซออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen: DO) ความเป็นกรด-เบสอุณหภูมิ การนำไฟฟ้า ความเค็ม และความขุ่น กำหนดตัวอย่างน้ำ 3 แบบ แบบแรกเป็นน้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน เช่น ห้วย หนอง บึง จากหมู่บ้านของนักเรียนแต่ละกลุ่ม แบบที่สองเป็นน้ำประปาหมู่บ้านของนักเรียน และแบบที่สามเป็น นำ้เสียที่ได้จากการล้างภาชนะของโรงอาหารโรงเรียน วิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำใช้ตามแนวทางโครงการ GLOBE การประเมินผลที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจกิจกรรมนี้ได้ระดับมากที่สุด (mean=4.63,S.D=0.41) และเห็นด้วยว่ากิจกรรมนี้ได้เสริมสร้างค่านิยมให้มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละเป็นตัวอย่างสังคมในการรักษาแหล่งน้ำ รวมทั้งสร้างให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจและรักที่จะเรียนรู้ในการรักษาแหล่งน้ำด้านอื่น ๆ ด้วย โดยค่าทางสถิติอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=5, S.D.=0.0) แม้แต่ระดับที่มีความพึงพอใจต่ำสุด คือ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์รณรงค์และพัฒนาการรักษาแหล่งน้ำ ก็ยังจัดอยู่ในระดับมาก (mean=4.00, S.D.=0.70) ส่วนด้านกระบวนการเรียนรู้นักเรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ ฝึกทำ แก้ปัญหา และพัฒนาอย่างเป็นระบบ จากการลงมือเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบสัมฤทธิ์ผลหลังเรียนเพิ่มเป็นร้อยละ 80.16 ของคะแนนเต็ม จากเดิมก่อนเรียนที่มีเพียงร้อยละ 53.3 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Title Alternate Enhancement of science-learning attitude of high school students of Phanamtipwittaya School through water quality analysis activity in school science club