การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsวันเพ็ญ สมหอม
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRK ว435 2559
Keywordsการดูแลทันตสุขภาพ--อุบลราชธานี, ทันตกรรม, ทันตกรรมชุมชน, ทันตกรรมเด็ก, ทันตสุขภาพ, ทันตอนามัย--การดูแลและสุขวิทยา, ทันตอนามัย--อุบลราชธานี, สุขภาพช่องปาก
Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและมีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต การสนทนากลุ่ม และข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปประเด็นโดนการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC) โดยครอบครัวและชุมชน พบว่า ขั้นตอนการวางแผนมีการค้นหาปัญหาและระบุปัญหา พบปัญหาโรคฟันผุ (ร้อยละ 57.1) เป็นปัญหาสำคัญที่สุด และจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพภายใต้นโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพของท้องถิ่น ลักษณะเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ อยู่ในแนวดิ่ง ทิศทางจาดบนลงล่าง และล่างขึ้นบน มีระดับผู้ปฏิบัติอยู่ล่างสุดและผู้กำหนดนโยบายอยู่บนสุด ส่วนในแนวระนาบเดียวกันจะมีการแบ่งงานและความรับผิดชอบกัน 3 กลุ่มหลัก 7 กิจกรรม เป็นผลพัฒนาได้รูปแบบ PARDO MODEL ได้แก่ (1) ร่วมค้นหาปัญหาและระบุปัญหา และกำหนดแนวทาง (Participation Planning; P) (2) ร่วมปฏิบัติการ (Acting; A) (3) ร่วมสังเกตการณ์ (Observing; O) (4) ร่วมสะท้อนคิด (Reflecting; R) และการพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง Development; D และภาพรวมระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อยู่ในระดับมาก (Mean=3.9, S.D =0.1) ภายหลังการใช้รูปแบบ ผลการประเมินพบว่า ด้านผลผลิต ภายหลังการอบรม เด็กนักเรียนประถมศึกษา มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติทางทันตสุขภาพ เพิ่มขึ้น และครอบครัวและชุมชน มีการปฏิบัติทางทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนประถมศึกษาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เด็กนักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและอนามัยช่องปากที่ดีขึ้น และด้านผลลัพธ์ทางทันตสุขภาพเพื่อควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ เท่ากับ 2.02 (SD=0.45) อยู่ในระดับมาก หลังทดลองคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.16 (SD=0.63) อยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังเด็กนักเรียนมีปริมาณแผ่นครอบจุลินทรีย์ลดลงกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p=0.001)
โดยสรุป PARDO MODEL ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดูแลพฤติกรรมและอนามัยช่องปากทำให้เด็กนักเรียนประถมศึกษามีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติทางทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ร่วมกับมีองค์กรเครือข่ายช่วยดำเนิน

Title Alternate The development of participatory model of family and community in oral health promotion at primary school Pho Yai sub-district, Warin Chamrap district, Ubon Ratchathani province
Fulltext: