อุบัติการณ์โรคมาลาเรีย และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบลำดับขั้น เพื่อวางแผนและป้องกันในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleอุบัติการณ์โรคมาลาเรีย และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่แบบลำดับขั้น เพื่อวางแผนและป้องกันในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2558
Authorsวัชรพงษ์ แสงนิล, จารุวรรณ์ วงบุตดี, สุริยง แผลงงาม
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA644.M2 ว378อ 2558
Keywordsการวิเคราะห์เชิงพื้นที่, มาลาเรีย, มาลาเรีย--การป้องกันและควบคุม--อุบลราชธานี, ลุ่มน้ำโขง, สาธารณสุข--อุบลราชธานี
Abstract

มาลาเรียเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาอุบัติการณ์และการระเบิดเชิงพื้นที่ของโรคมาลาเรีย 2)ประยุกต์ใช้ข้อมูลรีโมทเซ็นซิ่งและข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย 3)ศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย และความสัมพันธ์ในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยรายหมู่บ้าน 3 ปี (2555-2557) เชื่อมโยงกับตำแหน่งหมู่บ้านให้เป็นข้อมูลสัมพันธ์เชิงพื้นที่ นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 ทำการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการวิเคราะห์ดีชะนีพืชพรรณ (NDVI) ด้วยเทคนิคแบบกำกับดูแล (Supervised Classification) แบบ Maximum Likelihood กำหนดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย 5 ปัจจัย คือ 1)การใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้/ทำไร่ พื้นที่การเกษตร แหล่งน้ำพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่อื่น ๆ 2) ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วยในแต่ละหมู่บ้านต่อพื้นที่ตารางกิโลเมตร 3) ปริมาณน้ำฝน 4) ระยะการบิน 2 กิโลเมตรของยุงพาหะในแต่ละหมู่บ้านที่พบผู้ป่วย และ 5)อุณหภูมิ จากนั้นให้ค่าคะแนนและค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพเชิงพื้นที่ (PSA) และแบบลำดับขั้น (AHP) เพื่อทำการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย จากนั้นทำการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจำนวน 1 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่ไม่มีความเสี่ยง จำนวน 1 หมู่บ้าน ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันต่อโรคมาลาเรียจำนวน 169 หลังคาเรือน ผลการศึกษาพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงสูง 309.43 ตารางกิโลเมตร (14.21% ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 1,571.26 ตารางกิโลเมตร (72.18%) อำเภอในลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี พบพื้นที่เสี่ยงสูงที่อำเภอโพธิ์ไทร 99.61 ตารางกิโลเมตร (4.58%) รองลงมาคือ อำเภอโขงเจียม 73.23 ตารางกิโลเมตร (3.36%) และอำเภอศรีเมืองใหม่ 50.83 ตารางกิโลเมตร (2.33%) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรียของกลุ่มตัวอย่างพบว่า บ้านหุ่งหลวงส่วนใหญ่อยู่ระดับสูง ร้อยละ 86.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 11.3 และบ้านเพนียดมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 87.5 ระดับปานกลาง ร้อยละ 12.5 สำหรับพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของกลุ่มตัวอย่างพบว่าบ้านหุ่งหลวง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 49.3 และบ้านเพนียดมีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 57.3 ระดับปานกลาง ร้อยละ 42.7

Title Alternate Malaria incidence, spatial analysis and hierarchy process for planning and control in Mekong basin, Ubon Ratchathani province