แนวทางการพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยวของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560

Titleแนวทางการพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยวของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2559
Authorsปริวรรต สมนึก
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB1570 ป462น 2559
Keywordsการประเมินหลักสูตร, การวางแผนหลักสูตร, การศึกษา--หลักสูตร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี--หลักสูตร
Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการศึกษาต่อในหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว (2) วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของหลักสูตร และ (3) ศึกษาแนวทางพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว ประจำปีการศึกษา 2560 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า
(1)ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการศึกษาต่อในหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับประเด็น (1) สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่นำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร และผลกระทบต่อการพัฒนาหลักสูตร (2) มาตรฐานและการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน (3)กระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา และ (4) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร สมารถนำมาเป็นข้อมูลสำหรับพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว ประจำปีการศึกษา 2560 ได้เป็นอย่างดี
(2)จุดเด่นของหลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับบัณฑิตเพียงแห่งเดียวในสถาบันการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาคอีสานใต้ และมีค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่สูงมากนัก อีกทั้งมีความเป็นเอกลักษณ์ของเนื้อหารายวิชาที่เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและภูมิภาคอีสานใต้ จุดด้อยได้แก่ สถานที่ตั้งของสถาบันอยู่ไกลจากส่วนกลางและขาดความนิยมเนื่องจากไม่มีอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงจากส่วนกลาง หรือต่างประเทศทางด้านการท่องเที่ยวมาสอน โอกาสได้แก่ นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลทำให้สถาบันการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวเป็นหนทางหนึ่งในการผลิตมหาบัณฑิตทางด้านนักวางแผนและนักวิจัยทางนวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการมารองรับกับตลาดแรงงานและอุปสรรคได้แก่ แนวโน้มการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในปัจจุบันของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีค่อนข้างน้อย
(3)แนวทางการพัฒนาหลักสูตรได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น นวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เปิดรับเฉพาะแผนการทำวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียวให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตรที่ต้องการให้เกิดนวัตกรรมทางการท่องเที่ยวและบริการ โดยประกอบด้วย หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาเอกบังคับ และวิชาเอกเลือก และหมวดวิชาวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต กำหนดแผนการศึกษาเป็นแบบทวิภาค และยังรับนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนตลอดจนการทำวิทยานิพนธ์

Title Alternate Development guidelines on the tourism innovation course in Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, in the fiscal year of 2017