การยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของคลินิกแพทย์และทันตแพทย์

Titleการยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของคลินิกแพทย์และทันตแพทย์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2559
Authorsกิตติยาพร ทองไทย
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ก674 2559
Keywordsระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ--เวชระเบียน, เวชระเบียน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของแพทย์ และทันตแพทย์ในคลินิก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนค้นหาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เก็บข้อมูลจากแพทย์และทันตแพทย์ที่เปิดคลินิกในเขตสุขภาพที่ 10 ทั้งหมด จำนวน 441 แห่ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2560 โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ โดยปรับใช้แบบจำลองการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นกรอบแนวคิด แบบสอบถามวัดความคิดเห็นแบบมาตรวัด 5 ระดับ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ ต้นทุนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ถึงการใช้งานง่ายในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ความตั้งใจในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิความน่าเชื่อถือของครอนบัค 0.882, 0.800, 0.945, 0.619 และ 0.967 ตามลำดับ และข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า มีแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 361 ฉบับ ร้อยละ 71.50 ไม่ใช้งานเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในคลินิก ร้อยละ 25.20 ของคลินิกที่ใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ ระดับความคิดเห็นต่อประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ ต้นทุนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้ถึงการใช้งานง่ายในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ความตั้งใจในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ 3.95 3.80 3.84 3.88 และ 3.80 ตามลำดับ ต้นทุนเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (OR=0.573, p-value<0.05) และการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (OR=0.335, p-value<0.05) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการยอมรับการใช้งานเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ความตั้งใจในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับการใช้งานเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=6.012, p-value<0.05) สำหรับคำแนะนำพบว่ารัฐบาลควรมีนโยบายหรือออกกฎหมายการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งจัดให้มีระบบแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลระหว่างสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดุแลรักษาที่ดีขึ้น

Title Alternate Adoption of electronic Health records in medical and dental clinics