การประเมินผลนโยบายกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการประเมินผลนโยบายกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsสารี ตันสุ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHN ส681
Keywordsกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--การบริหาร, กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--อุบลราชธานี, การพัฒนาชุมชน--อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาการประเมินผลนโยบายกองทุนหมู่บ้านโดยศึกษาถึงผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบนโยบายกองทุนหมู่บ้าน วิธีการวิจัยเป็นการศึกษาการพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารการเงินของกองทุนหมู่บ้านและการสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก (Indepth interview) การสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก เป็นการสัมภาษณ์คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจำนวน 10 แห่ง ๆ ละ 10 คน ประกอบด้วยประธาน กรรมการกองทุนหมู่บ้าน 10 คน เหรัญญิกกองทุนหมู่บ้าน 10 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 80 คน
ผลการวิจัยด้านผลผลิตของกองทุนหมู่บ้านพบว่า ปริมาณที่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่ได้กู้เงิน จำนวน 73 ราย ต่อกองทุน จำนวนเงินที่ได้กู้จำนวน 20,000 บาทต่อคนเงินกู้แต่ละหมู่บ้านที่ได้กู้เงินจำนวน 73 ราย ต่อกองทุน จำนวนเงินที่ได้กู้จำนวน 20,000 บาทต่อคนเงินกู้แต่ละหมู่บ้านได้รับจากรัฐบาล 1,000,000 บาท ซึ่งครบตามจำนวนที่รัฐบาลโอนให้ เวลาที่ใช้ในการกู้เงินจะใช้เวลา ประมาณ 15 วัน นำเงินกู้ไปลงทุนทางด้านการเกษตรและค้าขายเป็นส่วนใหญ่และชำระได้ทันตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านกำหนด เงินกองทุนหมู่บ้านจะอยู่คู่กับหมู่บ้านตลอดไปและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีความพึงพอใจในนโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็นอย่่างมาก
ผลการวิจัยด้านผลลัพธ์ของนโยบายกองทุนหมู่บ้านพบว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งเงินทุนในหมู่บ้านหลังจากที่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านกู้ไปแล้วจะก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นในหมู่บ้านโดยเฉพาะในปีแรก ๆ ที่กู้เงินและจะลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะสมาชิกที่นำเงินกู้ยืมจากแหล่งอื่นมาส่งจะไม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารการจัดการโดยเฉพาะกับคณะกรรมการต่าง ๆ นโยบายกองทุนหมู่บ้านช่วยสร้างเสริมศักยภาพและความเข็มแข็งให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านอันจะทำให้เศรษฐกิจในหมู่บ้านดีขึ้น และนำความเข้มแข็งมาสู่ประเทศชาติต่อไป นโยบายกองทุนหมู่บ้านนับว่าเป็นหนึ่งที่กระจายอำนาจการบริหารจัดการเงินงบประมาณของแผ่นดินมาให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับนโยบายโดยตรง
ผลการวิจัยด้านผลกระทบ จากการนำนโยบายของกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติพบว่า สมาชิกมีหนี้เงินกู้อยู่หลายที่หลายแห่ง วิธีการที่จะทำให้ส่งชำระหนี้เงินกองทุนหมู่บ้านให้ได้จะต้องทำการหมุนเวียนหนี้ แหล่งที่มาของเงินที่นำมาส่งชำระหนี้ให้แก่กองทุนหมู่บ้านได้แก่รายได้ทางการเกษตรเป็นรายได้หลักส่วนรายได้รองได้แก่รายได้จากการรับจ้างทั่วไปและรายได้จากการค้าขายตามลำดับ จำนวนรอบของการหมุนเวียนหนี้ในแต่ละปีพบว่าหมุนเวียนหนี้มากที่สุด 2 รอบ 3 รอบ และ 1 รอบตามลำดับ ในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มหมุนเวียนหนี้มากขึ้น เนื่องจากสมาชิกมีภาระหนี้มากขึ้น ผลที่เกิดจากการหมุนเวียนหนีี้จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ผลเสียที่มากที่สุด คือ มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นและจะสูงขึ้นไปทุก ๆ ปี
ข้อเสนอแนะและแนวทางที่ไม่ให้เกิดการหมุนเวียนหนี้ ผลการศึกษาทราบว่าแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นมีหลายประเด็นซึ่งประเด็นต่าง ๆ มีทั้งแนวทางที่เป็นเชิงบวก และแนวทางที่เป็นเชิงลบ ทางผู้วิจัยได้เพิ่มข้อเสนอแนะในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ของสมาชิกให้มีหลักการวิเคราะห์สินเชื่อที่สถาบันการเงินต่าง ๆ พิจารณาถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะมีปัญหาการหมุนเวียนหนี้ตลอดไป และเงินกองทุนหมู่บ้านนี้จะทำให้เกิดปัญหาตามมา
ผลการวิจัยในด้านความขัดแย้งระหว่างสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจะมีปัญหาความขัดแย้งในด้านการอนุมัติให้กู้เงินและการติดตามทวงถามหนี้ความขัดแย้งดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่ต่ำเพราะคนไทยชอบลืมเรื่องต่าง ๆ เร็ว และไม่ตองการมีความขัดแย้งนาน ๆ จะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตถ้ามีปัญหาการกู้เงินกับกองทุนหมู่บ้านสมาชิกดังกล่าวก็จะหันไปกู้เงินกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น สหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสิน เป็นต้น

Title Alternate The village revolving fund program evalution : a case study of vilage in Warinchamrab, Ubon Ratchathani