ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกินยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsยุทธพล พิมพ์ภา
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ย357ป
Keywordsสารต้านไวรัส, โรคเอดส์--ผู้ป่วย--การรักษาด้วยยา--อุบลราชธานี, โรคเอดส์--ผู้ป่วย--แง่สังคม--อุบลราชธานี
Abstract

Chi-Square Test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติการวิเคราะห์ การถดถอบโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีและผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.1 เพศชาย ร้อยละ 44.9 มีอายุระหว่าง 18-62 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 37.2 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 54.8 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 58.9 ประกอบอาชีพรับจ้าง และพนักงานบริษัท ร้อยละ 35.7 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 58.9 ประกอบอาชีพรับจ้าง และพนักงานบริษัท ร้อยละ 35.7 รายได้เฉลี่ย 3770.4 บาท มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศขาล ร้อยละ 51.2 ระยะเวลาในการรักษาเฉลี่ย 38 เดือน รับยาต้านไวรัสเอดส์ที่โรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ 63.7 มีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล ร้อยละ 92.6 และรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างเดียว ร้อยละ 86.0
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเอื้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดเผยผลเลือดให้บุคคลอื่นรับรู้ร้อยละ 86.08 โดยเปิดเผยมากที่สุด ได้แก่ ครอบครัว ร้อยละ 60.2 มีความเชื่อมั่นต่อการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมากที่สุด ร้อยละ 42.3 กินยาต้านไวรัสสูตรแรก ร้อยละ 85.1 มีอาการข้างเคียงที่เกิดมากที่สุดคืออาการชาตามแขน ขา มือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง แก้มตอบ ไขมัน สะสมในบางบริเวณ เช่น หน้าอก ร้อยละ 63.8 มีคามกังวลใจจากผลข้างเคียงของยาในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.1 พฤติกรรมสุขภาพดีเป็นส่วนใหญ่ มีกลุ่มตัวอย่างเพียง ร้อยละ 18.8 สูบบุหรี่ และ ร้อยละ 19.6 ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่วนด้านความรู้อาการของโรคเอดส์ พบว่าอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.8 มีคะแนนเฉลี่ยมีค่า 30.1 คะแนน มีความพึงพอใจสถานบริการที่มารับการรักษาในภาพรวม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 90.8 ความพึงพอใจเฉลี่ย 65.8 คะแนน
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสริม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุน ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.6 (มีคะแนนเฉลี่ย 10.9) ส่วนสมาชิกกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ ร้อยละ 92.6 ไม่ได้รับการไปเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 58.0 และในการเดินทางมารับยาที่โรงพยาบาลใช้เงินตัวเอง ร้อยละ 83.3 มีเพียงส่วนน้อยที่ใช้เงินกู้ยืม (ร้อยละ 6.8) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินยาต้านไวรัสเอดส์ พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ อาชีพ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการรักษา และสถานที่รับยาต้านไวรัสเอดส์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการกินยาอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยเอื้อ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้าน การเปิดเผยทางสังคม การดื่มสุรา และสูตรยาที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการกินยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยเสริมผลการศึกษาพบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมและการติดตามเยี่ยมบ้านของกลุ่มผู้ติเชื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินยาต้านไวรัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ในการทำนายปัจจัยที่มีความสำพันธ์กับพฤติกรรมการกินยาต้านไวรัส ได้แก่ สูตรยาที่ได้รับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานบริการที่รับยาต้านไวรัส และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม
จากผลการวิจัยพบว่า การเปิดเผยทางสังคม แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินยาอย่างต่อเนื่องควรหาแนวทางให้กลุ่มผู้ติดและผู้ป่วยเอดส์ที่มีความมั่นคง เข้าใจ ยอมเปิดเผยตัวให้มากขึ้น รวมทั้งครอบครัว ชุมชน ให้กำลังใจสนับสนุน ไม่รังเกียจ ส่วนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่จะส่งผลต่อการรักษา ได้แก่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ควรให้ความรู้และตระหนักในเรื่องเหล่านี้เพราะพฤติกรรมเหล่านี้มีผลกับความสม่ำเสมอของการกินยา และจะส่งผลให้การรักษามีแนวโน้มที่จะล้มเหลว

Title Alternate Factors affecting anti-HIV medication-taking behavior of HIV-positive individuals and AIDS patients in Ubon Ratchathani Province