การพัฒนาของเมล็ดพันธุ์และการทำงานการพักตัวของเมล็ดพันธุ์บวบหอม

Titleการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์และการทำงานการพักตัวของเมล็ดพันธุ์บวบหอม
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsปราณี แสนวงค์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ป445
Keywordsบวบหอม, บวบหอม--เมล็ดพันธ์, บวบหอม--เมล็ดพันธ์--การเก็บและรักษา
Abstract

การพัฒนาของเมล็ดพันธุ์และการทำลายการพักตัวของเมล็ดพันธุ์บวบหอม ได้ศึกษาในเมล็ดพันธุ์ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์บริษัท LION SEED สายพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ CH 4801 และสานพันธุ์พื้นเมือง แหล่งเมล็ดพันธุ์บ้านน้อยเจริญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาสุกแก่และการเปลี่ยนแปลงระหว่างการพัฒนาของเมล็ด ศึกษาวิธีทำลายการพักตัวเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพการงอกสม่ำเสมอ และเพื่อศึกษาการพัฒนาของต้นกล้าระหว่างการงอกของเมล็ดพันธุ์บวบหอมเพื่อใช้กำหนดเป็นแนวทางการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการเตตราโซเลียม ดำเนินการ ณ สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2551-มกราคม พ.ศ.2552 วางแผนการทดลองแบบ CRD การศึกษาทำลายการพักตัวแบบเมล็ดแข็งในเมล็ดพันธุ์บวบสายพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ CH 4801 พบว่า วิธีการตัดเปลือกหุ้มเมล็ดเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการทำลายการพักตัวซึ่งสามารถทดแทนด้วยวิธีการอบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง ผลการศึกษาระยะเวลาสุกแก่และการเปลี่ยนแปลงระหว่างการพัฒนาของเมล็ดพบว่า การพัฒนาของจำนวนข้อระยะแรกมีจำนวนน้อย หลังจากนั้นจำนวนข้อจะเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ 11-13 ข้อต่อสัปดาห์ ส่วนระยะห่างระหว่างข้อ ภายในหนึ่งสัปดาห์จะยืดยาวได้ประมาณ 18.67 เซนติเมตร ทำให้อัตราการเพิ่มความสูงของต้นในแต่ละสัปดาห์เท่ากัน ความกว้าง ความยาว ความหนา ความงอกมาตรฐาน และความแข็งของเมล็ดพันธุ์จะเพิ่มขึ้นตามระยะการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น ยกเว้นความชื้นของเมล็ดพันธุ์จะลดลงเมื่ออายุการพัฒนาของเมล็ดเพิ่มขึ้น ส่วนจุดสุกแก่ทางสรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์บวบหอมทั้ง 3 สายพันธุ์ เมื่ออายุ 60, 55 และ 60 วันหลังดอกบาน มีระยะเก็บเกี่ยวที่ 75, 70 และ 75 วันหลังดอกบาน ตามลำดับ ส่วนการศึกษาการพัฒนาของต้นกล้าระหว่างการงอกของเมล็ดพันธุ์บวบหอม พบว่า ส่วนของรากมีการพัฒนาเกิดขึ้นก่อนลำต้น หลังจากนั้นส่วนของลำต้นจึงจะยืดยาว
เมื่อเริ่มงอกน้ำหนักสดและแห้งจะเพิ่มขึ้นตามอายุการเพาะ ความชื้นของเมล็ดจะเพิ่มขึ้นระยะแรกจากนั้นลดลงและมีแนวโน้มคงที่ การย้อมต้นกล้าบวบหอมที่อายุ 39 ชั่วโมงหลังเพาะด้วยสารละลายเตตราโซเลียม สามารถจำแนกได้ว่าเมล็ดดังกล่าวมีแนวโน้มการเจริญเติบโตเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์หรือไม่ โดยการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์ระยะนี้สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความงอกและความแข็งแรงเมล็ดพันธุ์บวบหอมด้วยวิธีการย้อมด้วยสารละลายเตตราโซเลียมได้

Title Alternate Development and breaking dormancy of Luffa Cylindrical (Linn.) roem seed
Fulltext: