การประเมินและติดตามผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544

Titleการประเมินและติดตามผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2549
Authorsบุณยสฤษฎ์ อเนกสุข, พัชรี ธานี
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG155.A1 บ533
Keywordsการท่องเที่ยว--หลักสูตร, การประเมินหลักสูตร
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและติดตาม หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2544 ในประเด็นความเข้มแข็งทางวิชาการที่ประกอบไปด้วยความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหา ตลอดจนการวัดและการประเมินผล ประเด็นความพร้อมของบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยความเหมาะสมของคุณลักษณะอาจารย์ นักศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการเรียน และประเด็นผลสัมฤทธิ์ภายหลังการสำเร็จการศึกษา โดยใช้ระเบียบวิิธีวิจัยเชิงสหวิทยาการ ซึ่งดำเนินการวิจัยควบคู่กันระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1)ประเด็นความเข้มแข็งทางวิชาการ
1.1)ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรรายวิชาในหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1-4 และข้อ 6-7
1.2) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ จำนวนและเนื้อหารายวิชาในหลักสูตรวิชาโท (3.96/3.76) จำนวนและเนื้อหารายวิชาภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง (4.00/3.74) และการมีวิชาเลือกเสรีที่เหมาะสมและมีให้เลือกตามความสนใจ (3.92/3.65)
1.3) ด้านเนื้อหารายวิชา พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับนักศึกษาศิลปศาสตร์ (4.46/4.59) จิตวิทยาการท่องเที่ยวและการบริการ (4.38/4.62) การประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว (4.38/4.70) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (4.50/4.66) การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว (4.46/4.42) การวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว (4.31/4.38) สัมมนาการท่องเที่ยว (4.38/4.36) การฝึกงาน (4.38/4.67) ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาศิลปศาสตร์ (4.38/4.46) การพูด 1 และ 2 (4.46/4.47) การเขียน 1 และ 2 (4.38/4.27) ภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยว (4.38/4.55) ภาษาอังกฤษธุรกิจ (4.27/4.52) และหลักการมัคคุเทศก์ (4.46/4.61)
1.4)ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า มีความยุติธรรมในการประเมินผลการเรียนการสอน (3.65/3/75)
2)ประเด็นความพร้อมของบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
2.1)ด้านความพร้อมของบุคลากร พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ บุคลากรมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางวิชาการของอาจารย์ในสาขาการท่องเที่ยว (4.12/4.16) อาจารย์มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการถ่านทอดเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ (4.15/4.13) อาจารย์มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการสอนภาคปฏิบัติในรายวิชา (4.04/4.07) อาจารย์มีการให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องการเรียนและเรื่องต่าง ๆ (4.08/4.15) อาจารย์มีสื่อการสอนที่ทันสมัยและเข้าใจง่าย (3.46/3.69) อาจารย์มีการส่งเสริมให้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนด้วยตนเอง (3.50/3.74) อาจารย์มีการเตรียมการสอน (4.00/4.12) อาจารย์มีการวางแผนการสอนและแจ้งล่วงหน้า (4.00/3.84) และอาจารย์มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับทั่วไป (3.85/3.85)
2.2) ด้านความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน พบว่าบัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ได้แก่ การมีตำราที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาท่องเที่ยวอย่างเพียงพอในสำนักวิทยบริการ (3.12/3.03) มีตำราที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาท่องเที่ยวอย่างเพียงพอในศูนย์การเรียนแบบพึ่งตนเอง (3.04/3.13) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีจำนวนเพียงพอ (3.04/2.75) อุปกรณ์ประจำห้องซาวน์แลบมีสภาพพร้อมใช้และมีจำนวนที่เพียงพอ (3.12/3.16) มีจำนวนห้องเรียนที่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา (3.20/2.99) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจำห้องเพื่อช่วยสอนที่ทันสมัยและมีสภาพพร้อมใช้งาน (3.13/3.16)
2.3) ด้านความพร้อมของกระบวนการจักการเรียนการสอน พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมาก ได้แก่ การทัศนศึกษานอกสถานที่และฝึกปฏิบัติ (3.73/3.74) และการมีความเหมาะสมของการจัดตารางเรียน (3.73/3.51)
2.4) ด้านความพร้อมของสภาพแวดล้อมในการเรียน พบว่า บัณฑิตและนักศึกษามีความคิดเห็นในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความเหมาะสมของภูมิทัศน์และภูมิอากาศในห้องเรียนต่อการส่งเสริมการเรียนการสอน (3.35/3.29)
3)ประเด็นผลสัมฤทธิ์ภายหลังการสำเร็จการศึกษา พบว่า บัณฑิตและผู้ประกอบการมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ บัณฑิตสามารถทำงานร่วมกับสมาชิกทุกเพศทุกวัยในองค์กรได้เป็นอย่างดี (4.38/4.30)
ผลที่ได้จากการวิจัยนี้จะนำไปวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป

Title Alternate The evaluation and follow up on the tourism major curriculum of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University (Revised 2001 edition)