ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเนื้อยางแห้งกับสมบัติทางเคมีและกายภาพของน้ำยาง

Titleความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเนื้อยางแห้งกับสมบัติทางเคมีและกายภาพของน้ำยาง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2550
Authorsศิริพร จึงสุทธิวงษ์, วินิช พรมอารักษ์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS1892 ศ463
Keywordsน้ำยางพารา, น้ำยางสังเคราะห์, ยางพารา, สมบัติทางกายภาพของน้ำยาง, สมบัติทางเคมีของน้ำยาง, เนื้อยางพาราแห้ง
Abstract

ในปัจจุบันเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) เป็นค่าที่ใช้กำหนดราคาของน้ำยางสดที่ชาวสวนกรีดได้ด้วยเหตุนี้ทำให้งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถวัดค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) ได้สะดวกและรวดเร็ว มีความถูกต้องและแม่นยำสูง จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) กับคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยางพันธุ์ RIM 600 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่ามีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) ประมาณ 32.6% และน้ำยางพันธุ์ GT1 จากจังหวัดศรีสะเกษ พบว่ามีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) ประมาณ 28.28% สำหรับคุณสมบัติทางกายภาพที่ทำการศึกษา คือ ค่าการดูดกลืนแสง และค่าความขุ่น พบว่า ความสัมพันธ์ของค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) กับค่าการดูดกลืนแสงนั้นอยู่ในรูปของสมการเส้นตรง A=0.031 ? (%DRC) = 0.0834 สำหรับน้ำยางพันธุ์ RIM 600 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ A = 0.0368 ?(%DRC) + 0.1389 สำหรับน้ำยางพันธุ์ GT1 จากจังหวัดศรีสะเกษ
ความสัมพันธ์ของค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) กับค่าความขุ่นนั้นอยู่ในรูปของสมการเส้นตรง NTU = 57.912 ? (%DRC) ? 111.88 สำหรับน้ำยางพันธุ์ RIM 600 จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ NTU=63.362 ? (%DRC) ? 144.38 สำหรับน้ำยางพันธุ์ GT1 จากจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนั้นเรายังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) กับคุณสมบัติทางเคมีของน้ำยางโดยไทเทรทกับ 0.05 N H2SO4 พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงเส้นตรงสามารถสร้างกราฟมาตรฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) ที่ทราบค่าแล้ว กับปริมาณ 0.5 N H2SO4 ได้ดังสมการ V=0.2947X (%DRC) + 2.9172

Title Alternate The relationship between dry rubber content (DRC) and chemical and physical properties of natural rubber latex