การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

Titleการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsยุพยงค์ พาหา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ย394
Keywordsระบบภูมิสารสนเทศ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบาดวิทยา, โรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุม--ศรีสะเกษ, โรคเลปโตสไปโรซิส--ศรีสะเกษ
Abstract

การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการควบคุมและห้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อจัดทำระบบภูมิสารสนเทศด้านระบาดวิทยาของโรคเลปโตสไปโรซีส 2) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่อำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษได้ รวบรวมข้อมูลที่เป็นปัจจัยหลักในการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซีส 8 ปัจจัย คือ 1) การใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ระยะห่างจากเส้นทางน้ำ 3) ระยะห่างจากแหล่งน้ำ 4) ความหนาแน่นประชากรปี 2551 5) ระยะห่างจากจุดเกิดผู้ป่วย 1 ตารางกิโลเมตร ปี 2547 6) ปี 2548 7) ปี 2549 และ 8) ปี 2550 โดยการกำหนดค่าน้ำหนักคะแนนและทำการซ้อนทับ (overlay) ข้อมูลของแต่ละปัจจัยและทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยวิธี Black Box Testing
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยอยู่ในช่วงกลุ่มอายุ 24-60 ปี ร้อยละ 75.36 เป็นกลุ่มวัยทำงาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.84 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ อาชีพทำนา ร้อยละ 93.03 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 66.67 ส่วนตำบลที่มีพื้นที่เสี่ยงในการเกิดโรคมากที่สุดคือ บ้านก้านเหลืองมีพื้นที่ 9.66 ตารางกิโลเมตร ผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 8.99

Title Alternate Application of geoinformation for support a decision in the protection and prevention leptolpirosis in Uthumpornpisai Posrisuwan contracting unit of primary care, Srisaket
Fulltext: