นโยบายการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2538-พ.ศ.2548

Titleนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2538-พ.ศ.2548
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsกิรณา จินตนะกุล
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF5382.5.T5 ก683น
Keywordsกรรมกร--อุบลราชธานี, การกลายเป็นเมือง, การปรับตัว, คนจน--อุบลราชธานี, ความทันสมัย, นโยบายทางด้านการท่องเที่ยว, นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ, ผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อ, สามล้อถีบ, อาชีพอิสระ--อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายด้านเศรษฐกิจและนโยบายทางด้านการท่องเที่ยว ความทันสมัย การกลายเป็นเมืองที่ส่งผลต่อผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี รวมถึงการปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อทั้งหมด 10 คน เจ้าของอู่สามล้อ 5 คน และผู้ใช้บริการสามล้อถีบ 10 คน ผลการศึกษาพบว่า
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1-3 ส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชธานีมีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคพาณิชย์และภาคบริการ กอรปกับการตัดถนนเพิ่ม ทำให้เกิดอาชีพใหม่ดังเช่น อาชีพถีบสามล้อที่เข้ามาพร้อมการพัฒนาถนน การมีอาชีพที่หลากหลายขึ้น ดึงดูดให้คนต่างอำเภอเข้ามาทำงานในเมือง และการเข้ามาของฐานทัพอเมริกันระหว่าง พ.ศ. 2514-พ.ศ.2518 เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชธานีที่ขยายเพื่อรองรับความต้องการของเหล่าทหารอเมริกัน สามล้อถีบเป็นที่นิยมเรียกใช้ในหมู่ทหารอเมริกัน อาชีพถีบสามล้อจึงเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี เป็นปัจจัยที่ดึงดูดคนจำนวนมากเข้าสู่อาชีพนี้ในยุคนั้น
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4-8 ได้เกิดปรากฎการณ์การนำสามล้อเครื่องเข้ามาในจังหวัดอุบลราชธานี รถสามล้อเครื่องจึงเข้ามาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของรถสามล้อถีบที่ใช้แรงคนในการขับเคลื่อน ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ได้เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญสองประการ คือ การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์ รถจักยานยนต์ ส่งผลต่อผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อ ดังจะสะท้อนได้จากการปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อ
การปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อ ผู้วิจัยพบว่า สภาพของเทศบาลเมืองวารินชำราบและเทศบาลนครอุบลราชธานีที่แตกต่างกัน น่าที่จะส่งผลต่อการปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อแตกต่างกัน กล่าวคือ เนื่องจากเทศบาลเมืองวารินชำราบเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟ ผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเทศบาลเมืองวารินชำราบจึงคาดหวังต่อรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดยรถไฟ แต่นักท่องเที่ยวส่วนมากเลือกที่จะเดินทางโดยรถโดยสารประเภทอื่นที่จอดรอรับลูกค้าในบริเวณสถานีรถไฟ เช่น รถรับจ้าง รถสามล้อเครื่อง รถประจำทาง เป็นต้น ในขณะที่บางส่วนมากับบริษัทท่องเที่ยว ผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเทศบาลเมืองวารินชำราบจึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการปรับตัว โดยมีลักษณะการปรับตัวคล้ายคลึงกับผู้ประกอบอาชีพถีบสามล้อในเทศบาลนครอุบลราชธานี คือ การรับลูกค้าขาประจำที่เป็นแม่ค้าในตลาดสด การมีโทรศัพท์มือถือเพื่อง่ายต่อการตามตัว การรับจ้างทั่วไป และการมีอาชีพเสริมอย่างอื่นตามกำลังทรัพย์และความรู้ของตน เช่น การเลี้ยงปลากระชัง การทำไม้กวาดขาย การรับซื้อของเก่า เป็นต้น

Title Alternate A study of the effecting of government''s developing policy to tricycle rider in Ubon Ratchathani city municipal and Warinchamrab municipality, 1995-2005