การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตะเพียนขาว Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1849) ปลากระมัง Puntioplites proctozysron (Bleeker, 1864) และปลาซ่า Larbiobarbus siamensis (Sauvage, 1881) ในบึงบอระเพ็ดด้วยข้อมูลการแจกแจงความถี่ของความยาว

Titleการประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตะเพียนขาว Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1849) ปลากระมัง Puntioplites proctozysron (Bleeker, 1864) และปลาซ่า Larbiobarbus siamensis (Sauvage, 1881) ในบึงบอระเพ็ดด้วยข้อมูลการแจกแจงความถี่ของความยาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2567
Authorsทองหุล, สมศักดิ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการประมงน้ำจืด, การประเมินสภาวะทรัพยากรประมงน้ำจืด, ปลาน้ำจืด
Abstract

ทรัพยากรประมงน้ำจืดมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงด้านอาหารและการเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาน้ำจืดในประเทศไทยยังขาดข้อมูลผลจับและการลงแรงประมงที่เที่ยงตรง ในกรณีที่มีข้อมูลจำกัดมีการพัฒนาแบบจำลองเพื่อประมาณค่าทางพลวัตประชากรปลา ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าทางพลวัตและสภาวะสต๊อคประชากรของปลาตะเพียนขาว Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1849) ปลากระมัง Puntioplites proctozysron (Bleeker, 1864) และปลาซ่า Larbiobarbus siamensis (Sauvage, 1881) ดำเนินการศึกษาที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยการสุ่มตัวอย่างปลาทั้ง 3 ชนิด นำมาบันทึกความยาวเหยียดและชั่งน้ำหนัก จากนั้นทำการแจกแจงข้อมูลความถี่ความยาวของปลาแต่ละชนิดเพื่อใช้ประมาณค่าทางพลวัตประชากร ได้แก่ พารามิเตอร์การเติบโตพารามิเตอร์การตาย และใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการประเมินสภาวะทรัพยากรประมงน้ำจืดด้วยแบบจำลองประชากรเดียว (Single species population models) ได้แก่ แบบจำลองผลจับต่อหน่วยทดแทนสัมพัทธ์ (Relative yield per recruit model) แบบจำลองศักยภาพในการวางไข่โดยใช้ข้อมูลความถี่ความยาว (length-based spawning potential ratio model) และแบบจำลองเพื่อการทำนายของธอมป์สันและเบลล์ (Thompsom and Bell Analysis model) เพื่อใช้เป็นข้อเสนอแนะในการจัดการประมงของปลาทั้ง 3 ชนิด ผลการศึกษาพบว่าปลาตะเพียนขาวมีค่าประมาณความยาวเฉลี่ยของกลุ่มที่มีอายุมากที่สุด (L.) มีค่าอยู่ในช่วง 42.40 - 44.40 เซนติเมตร ของความยาวทั้งตัว ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) ระหว่าง 0.49 - 0.81 ต่อปี สัมประสิทธิ์การตายรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 1.49 - 2.48 ต่อปี มีค่าการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน (Ecur) น้อยกว่าค่าการใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดผลจับต่อหน่วยทดแทนสูงสุด (Emax) ยกเว้นบางปีส่วนปลากระมังมีค่าประมาณความยาวเฉลี่ยของกลุ่มที่มีอายุมากที่สุด (L.) มีค่าอยู่ในช่วง 38.00-41.95 เซนติเมตร ของความยาวทั้งตัว ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.31-0.41 ต่อปี สัมประสิทธิ์การตายรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 1.66-2.87 ต่อปี มีค่าอัตราการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันกับที่ก่อให้เกิดผลจับต่อหน่วยทดแทนสูงสุดมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสมดุล ยกเว้นบางปี และปลาซ่ามีค่าประมาณความยาวเฉลี่ยของกลุ่มที่มีอายุมากที่สุด (L.. ) มีค่าอยู่ในช่วง 26.14 - 29.28 เซนติเมตร ของความยาวทั้งตัว ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.51 - 0.87 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 2.83 - 3.37 ต่อปี มีค่าอัตราการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมากกว่าค่าที่ก่อให้เกิดผลจับต่อหน่วยทดแทนสูงสุด สำหรับการประเมินศักยภาพในการวางไข่ของสต๊อคพ่อแม่พันธ์ปลาทั้ง 3 ชนิด พบว่า มีค่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทั่วไปว่าเป็นระดับที่มีการวางไข่ที่จะทำให้เกิดการทดแทนขึ้นได้(ค่าประมาณมากกว่าร้อยละ 20) ส่วนการประเมินด้วยแบบจำลองธอมพ์สันและเบลล์ แสดงผลในรูปแบบพล็อตโกเบ ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มประชากรของปลากระมัง และปลาซ่าในแต่ละปีที่ทำการศึกษามีการใช้ประโยชน์ไม่เกินระดับอ้างอิงที่ผลจับยั่งยืนสูงสุด ส่วนปลาตะเพียนขาวมีการใช้ประโยชน์เกินระดับอ้างอิงที่ผลจับยั่งยืนสูงสุด (สีแดง) ในบางปี จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลการแจกแจงความถี่ของความยาวสามารถใช้ในการประเมินสถานะภาพของพลวัตและสภาวะสต๊อคประชากรปลาได้ สำหรับการทดแทนของประชากรปลาในบึงบอระเพ็ดอาจเกี่ยวเนื่องกับมาตรการที่กรมประมงใช้บริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ได้แก่ การจัดการแหล่งที่อยู่อาศัยด้วยการขุดลอกตะกอนดินและกำจัดวัชพืช การจัดการพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำด้วยการกำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และการกำหนดฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนและการปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มผลผลิต มีการทดแทนประชากรได้อย่างพอเพียงนอกจากนี้การเชื่อมต่อกับแม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมทำให้มีการแลกเปลี่ยนประชากรปลาด้วย

Title Alternate Stock of Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1849), Puntioplites proctozysron (Bleeker, 1864) and Larbiobarbus siamensis (Sauvage, 1881) in boraped swamp, Thailand by using length frequency data