การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว

Titleการพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2567
Authorsทองพูล, นิตยา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการปรับปรุงคุณภาพดิน, การปลูกข้าว, การปล่อยก๊าซมีเทน, คุณภาพดิน, นาข้าว, ผลผลิตข้าว
Abstract

การพัฒนาสารปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว โดยศึกษาอิทธิพลของสารปรับปรุงคุณภาพดินจากถ่านชีวภาพต่อการปล่อยก๊าซมีเทนและผลผลิตในนาข้าว ณ พื้นที่แปลงทดลองตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การออกแบบชุดการทดลองประกอบด้วย 6 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุม ไม่มีการเติมสารปรับปรุงคุณภาพดินและปุ๋ยทุกชนิด (Control), 2) ชุดการทดลองที่ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (F), 3) ชุดการทดลองที่ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับซัลเฟอร์ 3 kg/rai (FS), 4) ชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดินที่มีส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี ถ่านชีวภาพ และซัลเฟอร์ 1.5 kg/rai (FBS1), 5) ชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดินที่มีส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี ถ่านชีวภาพ และซัลเฟอร์ 3 kg/rai (FBS2) และ 6) ชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดินที่มีส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี ถ่านชีวภาพ และซัลเฟอร์ 4.5 kg/rai (FBS3) ติดตามวัดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนตลอดฤดูกาลเพราะปลูก จากการศึกษาพบว่าชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดิน FBS1 และ FBS3 มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่อวันต่ำที่สุด คือ 38.74 และ 35.09 mg/m2/day ตามลำดับ จากนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลอง F ที่เป็นการจัดการแปลงนาข้าวแบบดั้งเดิม (Cultural practice) แสดงให้เห็นว่าชุดการทดลอง FBS1 และ FBS3 สามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงทดลองได้ดีกว่าชุดการทดลอง F 8.43% และ 17.06% ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการปล่อยก๊าซมีเทนร่วมกับผลผลิต พบว่าชุดการทดลอง FS และ FBS1 ให้ผลผลิตข้าวสูง โดยมีน้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยอยู่ที่ 91.13 และ 91.00 g/m2 ตามลำดับ และสำหรับการวิเคราะห์ปริมาณสารหอม 2-AP พบว่าชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดิน FBS1 และ FBS2 ให้ปริมาณสารหอม 2-AP ในเมล็ดข้าวมากที่สุด (1.60 และ 1.78 ppm ตามลำดับ) ดังนั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของผลิต การปลดปล่อยก๊าซมีเทน และปริมาณสารหอม 2-AP การศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าชุดการทดลองที่ใช้สารปรับปรุงคุณภาพดิน FBS1 สามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรได้ รวมทั้งสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าวได้ดีกว่าการทำนาแบบดั้งเดิม

Title Alternate Development of soil amendment to reduce methane emissions in rice fields