การใช้ประโยชน์จากถ่านมูลช้าง สำหรับดูดซึมสารละลายตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำชะขยะมูลฝอย

Titleการใช้ประโยชน์จากถ่านมูลช้าง สำหรับดูดซึมสารละลายตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำชะขยะมูลฝอย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsบุญศักดิ์, สุริยะ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ส865
Keywordsการดูดซึมสารตะกั่ว, การวิเคราะห์น้ำเสีย, ตะกั่ว -- การวิเคราะห์, ถ่านกระดูก -- การวิเคราะห์, ถ่านมูลช้าง, น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดโลหะหนัก, น้ำเสีย -- การกรอง, น้ำเสีย -- การบำบัด
Abstract

การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารละลายตะกั่วของถ่านมูลช้างในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำชะขยะมูลฝอย ผลการศึกษาพบว่า สำหรับสารละลายตะกั่วสังเคราะห์ความเข้มข้นเริ่มต้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณถ่านมูลช้างที่เหมาะสมเท่ากับ 1.50 กรัมต่อ 30 มิลลิถิตรของสารละลายตะกั่ว ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดมากที่สุด เท่ากับ 91.52 % เวลาเข้าสู่สมดุล 30 นาทีค่าพีเอชที่เหมาะสม เท่ากับ 2 ลักษณะไอโซเทอร์มของการดูดซับสามารถใช้สมการของแลงเมียร์ และฟรุนดิช อธิบายได้ดี (R2 > 0.9) สำหรับพื้นที่ผิวจำเพาะและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูพรุนของถ่านมูลช้างเท่ากับ 110.10 ตารางเมตรต่อกรัม และ 25.10 A ตามลำดับ ซึ่งเป็นแบบรูพรุนขนาดกลาง และจากภาพถ่าย SEM พบผลึกของตะกั่วที่ผิวถ่านมูลช้างเมื่อนำถ่านมูลช้างมาดูดซับน้ำชะขยะมูลฝอย โดยใช้ปริมาณถ่านมูลช้าง 1.50 กรัมต่อ 30 มิลลิลิตร ระยะเวลาสัมผัส 30 นาที พีเอช 2 พบว่า มีประสิทธิภาพการกำจัดมากที่สุดเท่ากับ 96.28% ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำถ่านมูลช้างมาใช้ในการบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอย แต่อย่างไรรายละเอียดในการออกแบบควรมีการศึกษาต่อไป

Title Alternate The utilization of elephant dung charcoal for absorbing lead solution from synthetic wastewater and leachate
Fulltext: