ประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

Titleประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsคงฤทธิ์ กุลวงษ์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ค113ป 2555
Keywordsการพัฒนาชุมชน--แง่เศรษฐกิจ--ยโสธร, การพัฒนาเศรษฐกิจ, ธุรกิจชุมชน, เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านห้องแซง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ประธาน คณะกรรมการและเลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 12 กลุ่ม และเจ้าหน้าที่ทางการในระดับต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอีก 13 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ทั้งจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย (1) ด้านรายได้ ชุมชนมีรายได้ที่สูงกว่าเส้นความยากจนที่ได้กำหนดไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 23,000 บาท โดยดำเนินการผ่านแผนชุมชน ผลคือชาวบ้านมีรายได้เฉลี่ยกลุ่มหมู่บ้านในปี 2554 คือ 49,674.59 บาท ซึ่งสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้เป็นเท่าตัว (2) ความสามารถในการพึ่งตนเองมีวิสาหกิจชุมชนมีทั้งที่ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ชุมชนต้องใช้บริโภคและขายจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ การเลี้ยงปลา การปลูกข้าวนาปรัง การปลูกถั่วลิสง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจที่สร้างรายได้ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ การทอผ้า การปลูกยางพารา โฮมสเตย์ และกลองยาว กลุ่มวิสาหกิจที่ลดรายจ่ายของชุมชน จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ ธนาคารข้าว และร้านชุมชน และกลุ่มวิสาหกิจที่ช่วยในการออมทรัพย์ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ ออมทรัพย์ และกลุ่มธนาคารชุมชน (3) การบริหารจัดการที่ดี การบริหารจัดการภายในชุมชนห้องแซง มีลักษณะการจัดการแบบคณะกรรมการ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อบริหารทั้งในด้านการผลิตสินค้า การจำหน่าย การปันผลให้แก่สมาชิก (4) ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข จากรายงานแสดงจำนวนตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานจำนวน 42 ด้าน บรรลุเป้าหมาย 39 ด้าน และไม่บรรลุเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 24 เด็กอายุ 6-15 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (99.88/100), ตัวชี้วัดที่ 27 คน อายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านเขียนภาษาไทยได้และคิดเลขอย่างง่ายได้ (99.90/100), และตัวชี้วัดที่ 32 คนในครัวเรือนไม่ติดสุรา (99.89/100), (5) สวัสดิการชุมชน ชุมชนห้องแซงมีการจัดเก็บรวบรวมเงินสวัสดิการเป็นสวัสดิการกลาง โดยการให้สวัสดิการจะครอบคลุมถึงกิจกรรมส่วนบุคคล และกิจกรรมส่วนร่วมของชุมชน เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย คลอด เป็นต้น (6) ภูมิคุ้มกันกระแสโลกาภิวัฒน์ ชาวชุมชนห้องแซงมีการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเองหรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงโดยการใช้ทรัพยากรในชุมชนที่ใกล้ตัวให้เป็นประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในตัวเอง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้เกิดประสิทธิผลการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนบ้าน ห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรประกอบด้วยปัจจัยนโยบายมีความต่อเนื่อง ภาวะผู้นำที่เหมาะสมสมรรถนะของหน่วนงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมของชุมชน

Title Alternate The effectiveness of community economic development in Ban Hongsaeng, Loeng Nokta district, Yasothon Province