ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคนในท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคนในท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsธนยศ มานิตย์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ธ152ป
Keywordsการเลือกตั้งท้องถิ่น, การเลือกตั้งท้องถิ่น--อุบลราชธานี, ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ, สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล--อุบลราชธานี--การเลือกตั้ง
Abstract

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งของคนในท้องถิ่น : กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาถึงปัจจัยและอุปสรรคที่มีผลต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็น (Brain storming) ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน 2551 เป็นกิจกรรมในภาคปฏิบัติ
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีสาเหตุใหญ่ ๆ ที่เหมือนกัน คือ การอพยพแรงงานไปทำงานที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผู้ลงสมัครไม่ใช่เครือญาติ สำนักทะเบียนอำเภอไม่ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ขาดสิ่งจูงใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
กล่าวโดยสรุป สาเหตุ ปัญหา และอุปสรรคที่ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย คือ
1)การอพยพแรงงานไปทำงานที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดสอดคล้องกับแนวคิดของแซมมวล มาติน ลิปเซ็ท (Lep set อ้างถึงใน พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ตม 2547 : 34) เกี่ยวกับลักษณะภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคมมีความสัมพันธ์กับการใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ Harrigan (อ้างถึงใน เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2548 : 178-180) ที่ว่าคนไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเนื่องจากการไม่เห็นประโยชน์ของระบบ (system nonresponsiveness) คิดว่าไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง 2) ผู้ลงสมัครไม่ใช่เครือญาติ สอดคล้องกับแนวคิดปัจจัยระยะสั้นเฉพาะช่วงสมัย (short-term forces) หรือปัจจัยภายนอกตัวผู้ใช้สิทธิ หรือปัจจัยดึงดูดด้านตัวผู้สมัคร กล่าวคือ การแข่งขันในท้องถิ่น มักมีอิทธิพลจากการโน้มน้าวชักจูงด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้อิทธิพลผู้ที่เป็นเครือญาติ ผู้ที่เป็นผู้นำชุมชน ก่อให้เกิดความนิยมในตัวผู้สมัคร นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดปัจจัยระยะยาวปัจจัยเฉพาะตัวถาวรของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (long term effect) 3) สำนักทะเบียนอำเภอไม่ปรับปรุงบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. สอดคล้องกับแนวคิด John harrigan (Harrigan, 1980 ; อ้างถึงในเรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2548 : 178-180) ด้านอุปสรรคกฎหมายและการเมือง (legal and political barriers) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก คือ พวกที่ถูกตัดสิทธิทางกายภาพ (physically disenfranchised) เพราะไม่มีชื่อในทะเบียนเลือกตั้ง 4) ขาดสิ่งจูงใจ (เงินหรือสิ่งของ) ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สอดคล้องกับสำนึกเชิงเหตุผล คือ ใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ (cost-benefit analysis)

Title Alternate Factors affecting on exercising voting rights of local people : case study of election of the member of Nakrasaeng subdistrict administration organization council, Ubon Ratchathani
Fulltext: