การแก้หมี่
การแก้หมี่ คือ ขั้นตอนการแก้เชือกฟางที่ใช้มัดลำหมี่แต่ละลำออกให้หมดโดยใช้มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม การแก้หมี่จะต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้มีดถูกเส้นไหมขาด หมี่ที่แก้เชือกฟางออกหมดแล้ว จะเห็นลายหมี่ที่สวยงามและชัดเจนมากขึ้น


การกวักหมี่และปั่นหลอด
ขั้นตอนนี้เป็นการนำเส้นไหมมัดหมี่ที่ย้อมสีได้ตามที่ต้องการแล้ว คล้องใส่กงแล้วถ่ายเส้นไหมให้พันรอบอัก เรียกว่า กวักหมี่ การกวักหมี่ต้องระมัดระวังอย่าให้เส้นไหมขาดตอน เพราะเมื่อนำไปทอแล้วจะไม่ได้ลายตามต้องการ จากนั้นตั้งอักและหมุนอักคลายเส้นไหมออกจากอักพันเข้าหลอดไหมที่เสียบแน่นอยู่กับเหล็กในของหลา สมัยก่อนหลอดไหมจะทำด้วยต้นปอแห้งที่ลอกเปลือกออก ยาวประมาณ 2 – 3 นิ้ว ความยาวของหลอดจะต้องสัมพันธ์กันกับกระสวยทอผ้า กล่าวคือ หลอดไหมจะต้องสามารถเข้าไปอยู่ในกระสวยได้ เมื่อหมุนกงล้อไม้ไผ่ของหลา เหล็กไนและหลอดจะหมุนเอาเส้นไหมจากอักพันรอบแกนหลอดไหม ปั่นเส้นไหมเข้าหลอดจนได้ขนาดที่เหมาะกับร่องของกระสวยทอผ้า ร้อยหลอดไหมที่ปั่นแล้วตามลำดับก่อนหลัง หากร้อยผิดลำดับหรือทำเชือกร้อยหลอดขาด จะทำให้ลำดับเส้นไหมผิดไป ไม่สามารถทอเป็นลวดลายตามต้องการได้ เรียกว่า หมี่ขาด




บรรณานุกรม
บริษัท สยามแฟบริค แอนด์ แฮนดิคราฟท์ จำกัด. (2557). กรรมวิธีการผลิตผ้าไหมมัดหมี่. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://siam-fabric.com.