เทอด บุณยรัตพันธุ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)

ผลงาน

มีผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และด้านการประพันธ์กาพย์ กลอน โคลง

  • ผลงานทางวิชาการด้านดนตรี
  • บทเพลงที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
    • เพลง “อุบลราชธานี” ได้เขียนคำร้องขึ้นจากทำนองเพลงไทยเดิม ซึ่งแต่เดิมชื่อว่า “ลาวอุบล” เขียนโดย สิบเอกวิง (นามสกุลไม่ปรากฏ) นายเทอด บุญยรัตพันธุ์ ได้เขียนคำร้อง ทำนองเป็นที่นิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นเพลงประจำจังหวัด เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
    • เพลง “มาร์ชเบ็ญจะมะมหาราช” เขียนคำร้องโดย อาจารย์ฐปนีย์ นาครทรรพ และนายเทอด บุญยรัตพันธุ์เป็นผู้เขียนทำนอง ได้ใช้ขับร้องประจำในโรงเรียรเบ็ญจะมะมหาราช มาจนปัจจุบัน
    • เพลงเชียร์กีฬา ของโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ทุกเพลง ซึ่งนักเรียนโรงเรียนจะต้องร้องได้ โดยนายเทอด บุณยรัตพันธุ์เป็นผู้เนียนคำร้องและทำนอง
    • เพลงที่มีการอัดแผ่นเสียง
      • นายพยงค์ มุกดา ได้นำเพลงที่นายเทอด บุญยรัตพันธุ์เป็นผู้เขียนทั้งคำร้องและทำนอง ไปอัดแผ่นเสียง 2 เพลง คือ
        • เพลงโรงเรียน นายพยงค์ มุกดา ไปเปลี่ยนเป็นเพลง โรงเรียนที่รัก ซึ่งขับร้องโดย นายธานินทร์ อินทรเทพ เป็นผู้ขับร้อง
        • เพลงพระคุณ ขับร้องโดย นายสมภพ คงสถิตธรรม
      • นายตุ้มทอง โชคชนะ หรือ “เบ็ญจมินทร์” นำเอาเพลง 6 เพลง ปอัดแผ่นสียงและเทปสลับกับเพลงของเขา ซึ่งเพลงทั้ง 6 เพลงนี้ เขียนคำร้องและทำนอง โดย นายเทอด บุญยรัตพันธุ์ และมีนายธานินทร์ อินทรเทพ เป็นผู้ขับร้อง
        • เพลงเสียงแคนใต้ร่มคูณ
        • เพลงสะพือหน้าแล้ง
        • เพลงจะอยู่หนไหน
        • เพลงชีวิตชาวนา
        • เพลงถึงจะรักคุณเท่าฟ้า
        • เพลงแว่วเสียงขลุ่ย

บทเพลงทั้งหมดที่นายเทอด บุญยรัตพันธุ์ได้ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองมีทั้งหมดราว 50 เพลง

ผลงานด้านจิตรกรรม

ในการไปเรียนครูมูลเพาะช่างครั้งแรก มีนักเรียนไปเรียนจังหวัดละ 1 คน รวม 68 จังหวัด มี 66 คน (ในขณะนั้น) เมื่อเรียนจบและทำการสอบ นายเทอด บุญยรัตพันธุ์สอบได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ จึงถือได้ว่าเป็นเกียรติประวัติอันหนึ่ง

การไปศึกษาวิชาครูมัธยมการช่างครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2494 – 2495) มีที่เป็นเกียรติประวัติอยู่ครั้งหนึ่ง คือ โรงเรียนได้จัดแสดงภาพเขียนสีน้ำมันของนักศึกษาที่วัดกัลยาณมิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเปิดงานและทอดพระเนตรภาพเขียน ขณะเสด็จพระราชดำเนิน ก็ทรงหยุดยืนทอดพระเนตรภาพเขียนรูปวัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นภาพเขียนของนายเทอด บุญยรัตพันธุ์อยู่ชั่วครู่ จึงได้
เสด็จพระราชดำเนินต่อไป ทางโรงเรียนจึงได้นำภาพของ นายเทอด บุญยรัตพันธุ์ภาพนั้นขึ้นทูลเกล้าถวายแล้วทางโรงเรียนจึงจ่ายค่าภาพให้ นายเทอด บุญยรัตพันธุ์เป็นเงิน 400 บาท ซึ่งมากพอดูในขณะนั้น จึงถือว่าเป็นเกียรติอันสูงยิ่ง

ขณะเป็นครู (พ.ศ. 2505) ได้จัดแสดงภาพเขียนสีน้ำมัน (Painting – Exhibition) ในลักษณะแสดงเดี่ยว (One man show) ณ หอประชุมวัฒนธรรมหญิง (ขณะนั้น) มีภาพประมาณ 40 ภาพ ชาวต่างประเทศที่เป็นทหารเข้ามาทำสงครามในเมืองไทย ได้เข้าชมและซื้อภาพ ขายได้เงินราว 5,000 บาท นับเป็นการแสดงภาพที่ให้คุณค่ายิ่ง

ผลงานด้านปฏิมากรรม

เป็นผู้แกะหินอ่อนเพื่อเป็นแบบพิมพ์ สำหรับอัดเทียนให้เป็นลวดลาย ใช้ติดเป็นลวดลายบนตัวต้นเทียนประจำวัดแจ้ง ในประเภทติดพิมพ์ของวัดแจ้ง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 – 2510 ซึ่งทางวัดได้รับรางวัลที่ 1 ที่ 2 ในประเภทติดพิมพ์เป็นประจำเกือบทุกปี

ใส่ความเห็น