โครงการ

โครงการศึกษาและรวบรวมประวัติผลงานช่างเทียนพรรษาเมืองอุบลฯตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประจำปี 2554

หลักการและเหตุผล

 ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่สำคัญสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่และสร้างชื่อเสียงให้กับชาวจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชา สถานที่จัดบริเวณทุ่งศรีเมือง และศาลาจัตุรมุข จะเห็นได้ว่าได้มีการสืบทอดประเพณีกันมาช้านานแล้ว ซึ่งในงานแห่เทียนพรรษาที่สำคัญของจังหวัดนั้น จะเน้นในเรื่องของต้นเทียนพรรษาที่แต่ละวัดนำมาประกวดในงานวันเข้าพรรษา คนส่วนใหญ่จะได้แต่ชมงานแห่เทียนพรรษาที่จัดขึ้นแต่ยังไม่ทราบถึงขั้นตอนวิธีการทำต้นเทียนพรรษาแต่ละประเภท ซึ่งจะต้องมีช่างเทียนที่มีฝีมือในการแกะสลักต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก และออกแบบในส่วนของต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ เพื่อที่จะปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมา ซึ่งเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงาม ที่พวกเราชาวอุบลราชธานี ควรจะสืบทอดวิธีการจัดทำต้นเทียนพรรษาให้เป็นที่รู้จักสืบไป ในส่วนช่างที่จัดทำต้นเทียนพรรษา ส่วนใหญ่ คนทั่วไปจะไม่ทราบว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนและมีผลงานอย่างไรบ้าง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งปราชญ์ทางด้านการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เราจึงควรที่จะศึกษาและรวบรวมผลงานของช่างเทียนเมืองอุบลราชธานีไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้ไว้ให้ศึกษาและเป็นเกียรติประวัติต่อปราชญ์ช่างเทียนเมืองอุบลราชธานี

วัตถุประสงค์

  • เพื่อรวบรวมประวัติและผลงานของช่างเทียนเมืองอุบลฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของช่างเทียนเมืองอุบลฯ ให้เป็นที่รู้จักทั่วไป
  • เพื่อเป็นแนวทางแก่ชนรุ่นหลังในการสืบทอดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเกิดจิตสำนึกอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คณะทำงาน

  • มะลิวัลย์   สินน้อย : หัวหน้าโครงการ
  • อาจารย์จีณัฐชะญา จีปณัฐิกาญจน์ 
  • อุษา  ผูกพันธ์
  • รุ้งลาวัลย์  ลิ่วชวโรจน์
  • สยุมพร  บุญไชย
  • ขนิษฐา  ทุมมากรณ์
  • ณัชชา  อักษรศรี