ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลราชธานี ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระสงฆ์เพื่อจุดถวายเป็นพุทธบูชา รวมทั้งจัดหาน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน

ครั้งในสมัยที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบลราชธานี คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมากและเกิดเหตุการณ์คนตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดีจึงให้ยกเลิกการแห่บั้งไฟ และเปลี่ยนเป็นการแห่ต้นเทียนแทน

candle_festival (14)

การแห่เทียนแต่เดิมนั้นไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อจะหากระดาษจังโก้ (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นฟันปลาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้น ๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้ นิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ถ้าเป็นวัวก็มักจะมีการตกแต่งรอบเขา คอ ข้อเท้า ด้วยกระดาษสี เกราะ กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

  candle_festival (6) candle_festival (7)candle_festival (17)candle_festival (5)candle_festival (4)

ภาพประเพณีแห่เทียนพรรษา ราวปี 2481

ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นถึงขั้นใช้การหล่อดอกเทียนจากผ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่าย ๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง หน้าขบ ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างฝีมือคนแรกที่เป็นผู้ริเริ่ม คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ต่อมา นายสวน คูณผล ช่างฝีมืออีกผู้หนึ่งได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น

ในช่วงปี พ.ศ.2495 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้นเมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี และประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

ในปี พ.ศ.2498 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อาทิ นายอารี สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีการทำขึ้นใหม่โดยใช้ปูนปลาสเตอร์แกะแม่พิมพ์เป็นลายต่าง ๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอก ขี้ผึ้งที่ใช้หล่อดอกใช้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นส่วนลึกของลายได้อย่างชัดเจน

ในปี พ.ศ.2509 นายคำเหมา แสงงสม ได้คิดวิธีใหม่อีกแบบหนึ่ง โดยแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งนับว่าเป็นวิธีทำเทียนที่ต้องใช้ฝีมืออย่างยิ่ง ช่างแกะสลักต้นเทียนยุคหลังที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น ได้แก่ นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัย จันทร วิจิตร งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้นเป็นลำดับ

ในปี พ.ศ.2520 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศมาชมตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

 candle_festival (10) candle_festival (11) candle_festival (12)candle_festival (2)

candle_festival (1) candle_festival (16) candle_festival (15) candle_festival (13)