ต้นไม้ของพ่อ

หัวหน้าโครงการ :รักเกียรติ แสนประเสริฐ

การปลูกต้นไม้ 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 ประการ ตามแนวพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทารพระราชดำริไว้เมื่อปี 2519 ณ หน่วยพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าการปลูกไม้ 3 อย่าง คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว ไม้เศรษฐกิจ หรือไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืน ซึ่งจะให้ประโยชน์ 4 ประการ คือ ได้ใช้สอยและเศรษฐกิจ ไม้ฟืน ไม้กินได้ และประการสุดท้ายคือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย

tree3

ลักษณะไม้ 3 อย่าง เป็นชนิดไม้ที่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับวิถีชีวิตชุมชน คือ

1.ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์ เครื่องมือในการเกษตร เช่น เกวียน คันไถ ด้ามจอบ เสียม และมีด รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาทำเครื่องจักสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อนำไปใช้นำครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม่เศรษฐกิจของชุมชน ได้แก่ มะขามป่า สารภี ซ้อ ไผ่หก ไผ่บง ไผ่ซาง สัก ประดู่ จำปี จำปา กฤษณา สมอไทย ปีบ ตะแบก คอแลน เป็นต้น

sarapee

2.ไม้ฟืนเชื้อเพลิงของชุมชน ชุมชนชนบทต้องใช้ไม้ฟืนเพื่อการหุงต้มปรุงอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว สุมควายตามคอก ไล่ยุง เหลือบ ริ้นไร รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการอบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด  ไม้ฟืนมีความตำเป็นที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดีไม้ธรรมชาติที่มีอยู่จะไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ ความอัตคัดขาดแคลนจะเกิดขึ้น

ดังนั้นจะต้องมีการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ ไม้หาด สะเดา เป้าเลือด กระท้อน ขี้เหล็ก ติ้ว แค มันปลา เป็นต้น

3.ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งการไล่ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัย การปลูกไม้ที่สามารถให้หน่อ ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้ก็จะทำให้ชุมชนมีอาหารและสมุนไพรในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน ได้แก่ บุก กลอย มะขม มะแข่น เสี้ยว ตะคร้อ ผักหวานป่า มะขามป้อม มะเม่า หวาน กระถิน เป็นต้น

tree4

รายละเอียดเพิ่มเติม : ต้นไม้ของพ่อ รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557