การรวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
หัวหน้าโครงการ : ศรีประไพ ธรรมแสง
ในการดำเนินโครงการสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลกล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทั้งหมด 40 ชนิด
ตัวอย่างกล้วยไม้พันธุ์พื้นเมืองที่พบ
ชื่อไทย ก้างปลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleisostoma fuerstenbergianum F.Kranzl.
ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น ห้อยลงเป็นสาย ยาว 40-60 ซม. ใบรูปทรงกระบอกเรียวเหมือนลำต้น โค้ง ปลายแหลม กว้าง 0.8 ซม. ยาว 12-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามข้อ ช่อดอกห้อยลงยาว 12-15 ซม. กลีบดอกรูปแถบ และกลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน สีน้ำตาลเข้ม กลีบปากมีขนาดเล็กสีขาว เส้าเกสรสีเหลือง
แหล่งที่พบ ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ตามที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดและแสงแดดรำไร
ฤดูออกดอก เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ชื่อไทย เขากวางอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phalaenopsis cornucervi (Breda) Blume & Rchb.f.
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น เอื้องจะเข็บ ม้าลาย เอื้องม้าลายเสือ เอื้องเขากวาง
ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น เล็กและสั้นเรียว สูง 5-10 ซม. ใบ รูปรีแกมรูปไข่ จนถึงรูปขอบขนานกามรูปไข่ กว้าง 4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบมนถึงแหลม ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบ ก้านช่อแบนสีเขียว กว้าง 1 ซม. ยาว 10-12 ซม. ดอกขนาด 2.5-3 ซม. ขอบหยัก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว หรือมีขีดตามนขวางสีแดงอิฐ กลีบปากรูปซ้อนปลายแผ่สีเหลืองอ่อน
แหล่งที่พบ ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ตามที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดหรือที่ร่มแสงแดดรำไรทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
ฤดูออกดอก เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
รายละเอียดเพิ่มเติม : การรวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2549