วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

วัดมหาวนารามเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองอุบลราชธานี เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ ภายหลังเรียกว่า วัดป่าใหญ่ ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดมหาวนาราม ในปี พ.ศ. 2484 จนถึงปัจจุบันนี้ และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521 ตามหลักศิลาจารึกที่ฝังอยู่แท่นข้างหลังองค์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ปรากฏว่าสร้างระหว่าง พ.ศ. 2363 คือหลังจากสร้างเมืองอุบลฯ 41 ปี ซึ่งตามตำนานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2322 โดยพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิศพรหม สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองคนที่ 2 เป็นผู้สร้าง หลังจากสร้างวัดแล้ว 2 ปี พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ จึงได้สร้างพระพุทธรูปเป็นองค์ประธานขนานนามว่า พระเจ้าอินทร์แปลง เพื่อแสดงให้เห็นในหลักฐานประจักษ์ชัดเจนจึงได้นำสำเนาบนทึกมาไว้ดูดังนี้ ศิลาจารึกหลักที่ 1 อยู่ด้านทิศตะวันออกเบื้องซ้ายพระเจ้าใหญ่ แผ่นหินสีดำเนื้อละเอียด คล้ายใบเสมา สูงประมาณ 99 ซม. กว้าง 60 ซม. หนา 17 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 24 แถว ตัวอักษร – ตัวธรรมสมัยโบราณ ภาษาอีสาน ใบเสมาศิลาแลงอันนี้เป็นการจารึกความเป็นมาของการก่อตั้งสร้างเมืองอุบลราชธานี เนื้อหาสาระสำคัญ กล่าวถึง วัน เดือน ปี ฤกษ์ยาม เวลา การสร้างเมืองและผู้ปกครองเมือง การสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ข้าโอกาส ค่าเช่าทำนา ตลอดจนอายุของพระพุทธศาสนา พระสังฆปราโมกข์พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา, ศิลาจารึกหลักที่ 2 อยู่ด้านทิศตะวันตกเบื้องขวาพระเจ้าใหญ่ แผ่นหินสีดำ เนื้อละเอียด คล้ายใบเสมา สูงประมาณ 55 ซม. กว้าง 44 ซม. หนา 10 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 10 แถว ภาษาอีสาน ใบเสมาศิลาแลงอันนี้เป็นการจารึกการก่อสร้างวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์และการสร้างพระเจ้าใหญ่อินแปลง เนื้อหาสาระสำคัญกล่าวถึง วัน เดือน ปี ฤกษ์ยาม เวลา นามพระพุทธรูปและนามผู้สร้าง ตลอดจนอายุของพระพุทธศาสนา, ศิลาจารึกหลักที่ 3 พระพุทธรูปซึ่งเคยเป็นพระประธานในอุโบสถ์หลังเก่า แผ่นทองแดง เนื้อละเอียด สูงเฉพาะใต้แท่นประมาณ 13 ซม. กว้าง 110 ซม. หนา 1 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 3 แถว ภาษาอีสาน พระพุทธรูปองค์นี้เคยเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถ์หลังเก่า ต่อมาทางคณะกรรมการมีมติว่าจะสร้างพระอุโบสถ์หลังใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย .ใกล้กับอุโบสถ์หลังเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการขนย้ายพระพุทธรูปต่าง ๆ ออกไปเพื่อสะดวกในการก่อสร้างพระอุโบสถ์หลังใหม่, ศิลาจารึกหลักที่ 4 จารึกไว้ใต้แท่นพระซึ่งเคยเป็นหมู่พระพุทธรูปในอุโบสถ์หลังเก่า แท่นหินสีดำ เนื้อละเอียด สูงเฉพาะใต้แท่นประมาณ 11 ซม. กว้าง 48 ซม. หนา 25 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 4 แถว ภาษาอีสาน กล่าวถึง วัน เดือน ปี ที่สร้างและชื่อผู้สร้างตลอดจนอายุของพระพุทธศาสนา ผู้สร้างคือ พระสังฆปราโมกข์พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาส, ศิลาจารึกหลักที่ 5 จารึกไว้ใต้แท่นพระซึ่งเคยเป็นหมู่พระพุทธรูปในอุโบสถ์หลังเก่า แผ่นทองแดง เนื้อละเอียด สูงเฉพาะใต้แท่นประมาณ 12.5 ซม. กว้าง 42 ซม. หนา 1 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 3 แถว ภาษาอีสาน, จารึกหลักที่ 6 จารึกไว้ใต้แท่นพระซึ่งเคยเป็นหมู่พระพุทธรูปในอุโบสถ์หลังเก่า แผ่นทองแดง เนื้อละเอียด สูงเฉพาะใต้แท่นประมาณ 8.5 ซม. กว้าง 34.5 ซม. หนา 1 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 3 แถว ภาษาอีสาน, จารึกหลักที่ 7 จารึกไว้ใต้แท่นพระซึ่งเคยเป็นหมู่พระพุทธรูปในอุโบสถ์หลังเก่า แผ่นทองแดง เนื้อละเอียด สูงเฉพาะใต้แท่นประมาณ 6 ซม. กว้าง 31 ซม. หนา 1 ซม. จารึกด้วยตัวธรรมสมัยโบราณ มีทั้งหมด 5 แถว ภาษาอีสาน อ่านต่อ…

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในการทอดกฐินพระราชทานของกองบิน 21 อุบลราชธานี วันที่ 30 ตุลาคม 2530

–. (2530). วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : อุบลกิจการพิมพ์.