ป้ายกำกับ: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระสัพพัญญูเจ้า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะผสมขัดเงา โดย พระอุปัชฌาย์สีทา
ชัยเสโน เป็นช่างและเป็นประธานดำเนินการหล่อ มีนามเมื่อแรกสร้างว่า “พระพุทธสัพพัญญูเจ้า” หน้าตัก 4 คืบพระสุคต การหล่อใช้โลหะธาตุหนัก 30 หาบ การขัดเงาราศีรัศมีแผ่กระจายสง่างามมาก

พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง พระพุทธรูปเนื้อองค์เป็นแก้วผลึกสีขาวใสดุจน้ำค้างยามเช้าเปล่งแสงแวววาวในตัวเองดุจประกายเพชร จึงได้ชื่อว่า “พระแก้วเพชรน้ำค้าง” ฉลององค์ด้วยทองคำเป็นบางส่วน เพื่อความสวยงามและทรงคุณค่า ประดิษฐาน ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จะถูกอัญเชิญลงมาให้พุทธศาสนิกชนสรงน้ำขอพรในช่วงวันขึ้นปีใหม่ทุกปี

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดที่สำคัญ ๆ ถึง 4 วัด ได้เป็นเจ้าคณะมณฑล 4-5 มณฑล ได้เป็นสังฆนายกองค์แรกของประเทศไทย ในด้านการศึกษา ท่านเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นในวัดต่าง ๆ ในบริเวณเมืองอุบลราชธานีและเมืองใกล้เคียง จนเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น “ผู้บุกเบิกการศึกษาไทยในภาคอีสาน” รวมทั้งการตั้งโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลอีสาน ด้านการศาสนา เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุขึ้นในวัดต่าง ๆ อบรมสั่งสอนประชาชนโดยการแสดงธรรมเทศนาในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ เขียนหนังสือหรือบทความตีพิมพ์เผยแพร่ สร้างคติธรรมหรือคติพจน์อันเฉียบคมเพื่อเป็นข้อคิดหรือแนวปฏิบัติสำหรับประชาชน ควรได้รับการยกย่องเป็น “ปราชญ์” ผู้สำคัญของเมืองอุบลราชธานีโดยแท้

อ่านต่อ…

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระที่มีความรู้ ความสามารถทั้งด้านการศึกษา การปกครอง การสาธารณูปการ และการเผยแผ่อย่างมากมาย ทำคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ให้แก่เมืองอุบลราชธานี อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน และถิ่นอื่นทั่วประเทศ ท่านเป็นประธานกรรมการจัดการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา 36 ปี เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงผู้จัดตั้งโรงเรียนอุบลวิชาคม (โรงเรียนสมเด็จ) ได้ก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานไว้ตามวัดต่าง ๆ นับเป็นพระมหาเถระชาวอุบลราชธานี อีกองค์หนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” โดยแท้

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขันตยาคโม) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ได้รับสมญานามว่า ยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมภาคอีสาน เป็นผู้ดำเนินรอยตามบูรพาจารย์สององค์ คือ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตตลอดชีวิตบรรพชิตได้ทุ่มเทกับงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา และอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลายด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ถึงแม้จะมีอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ก็ได้ใช้ขันติ วิริยะ อุตสาหะ ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นด้วยคติธรรมที่ว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวอุบลราชธานีที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่ง ที่สามารถสืบสานหลักการแห่งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามรอยพุทธธรรมของบูรพาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุบลราชธานี ให้ขจรขจายเป็นแบบอย่างอันดีงามไปยังถิ่นอื่นได้อย่างดียิ่ง สมควรยกย่องเชิดชูให้เป็น “ปราชญ์” ของชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

ท่านพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ท่านพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ท่านพนฺธโล (ดี) เป็นพระสงฆ์เถระชาวอุบลราชธานีรุ่นแรก ๆ ที่มีโอกาสได้บวชเรียนทั้งที่จากบ้านเกิดจังหวัดอุบลราชธานี และในเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) และมีโอกาสอันสูงยิ่งที่ได้เข้าเฝ้าถวายตัวรับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ขณะทรงออกผนวชในพระนาม วชิรญาณเถระ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ ธรรมยุติกนิกาย ขึ้น ท่านพนฺธโล (ดี)ในฐานะปุราณสหธรรมิกในพระองค์ท่าน ก็ได้เอาภาระธุระเผยแผ่คณะธรรมยุตตั้งเป็นหลักฐานให้เจริญก้าวหน้าเป็นครั้งแรกที่จังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรกที่ทำสังฆกรรมการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตร ผู้มีศรัทธาเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติให้แพร่หลายทั่วภาคอีสาน และที่สำคัญที่สุด ท่านพนฺธโล (ดี) เป็นผู้นำในการนำวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของธรรมยุติกนิกาย โดยยึดแบบแผนธุดงคกัมมัฏฐานอยู่อรัญญิกาวาสหรือวัดป่าเป็นหลัก ไปปฏิบัติจนเป็นแบบแผนแนวปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระหรือสายวัดป่าของภาคอีสานและภาคอื่น ๆ สืบต่อมาในภายหลัง ดังตัวอย่างบูรพาจารย์เถระเป็นที่เคารพศรัทธาของพระพุทธบริษัททั้งหลาย อาทิ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์ชา สุภทฺโท เป็นต้น นับได้ว่าท่านพนฺธโล (ดี) ได้ทำคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน สาธุชน ประชาชนชาวอุบลราชธานี และโดยทั่วไป สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็น “ปราชญ์” ชาวอุบลราชธานีอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม….