เหล่ง

เหล่ง หรือ เล่ง หรือ เล็น เป็นอุปกรณ์สำหรับกรอเส้นฝ้ายหรือไหมให้เป็นเข็ดหรือไจ เมื่อใช้กับเส้นไหมจะเรียกว่า เล่งไหม นิยมทำจากไม้เนื้อแข็ง ลักษณะโครงสร้างเป็นวงล้อ มี 4 หรือ 6 แฉก มีแกนตรงกลางสำหรับหมุน มีฐานยาวสามารถถอดวงล้อออกจากขาตั้งได้

วิธีการใช้งาน จะนำเส้นฝ้ายหรือไหมที่เข็นหรือตรึงได้มาพันกับโครงสร้าง โดยมือข้างหนึ่งจะหมุนเหล่ง มืออีกข้างหนึ่งจะจับเส้นฝ้ายหรือไหมตรึงไว้ให้มีน้ำหนักพันเหล่งได้พอดีไม่หย่อนหรือแน่นเกินไป ขาข้างหนึ่งจะวางทับฐานไว้เพื่อถ่วงสมดุลไม่ให้เหล่งล้ม จะหมุนกรอเส้นด้ายลงไปบนเหล่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการ จึงคลายหรือถอดออกจากเหล่งมาทำเป็นไจไว้ใช้งานต่อไป ขั้นตอนนี้จะเป็นการเก็บเส้นฝ้ายหรือไหมไม่ให้พันกัน

ในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตเส้นไหมนั้น มีหน่วยงานสนับสนุนได้พัฒนาเหล่งให้เกษตรกรผู้ผลิตได้ใช้งานที่มีมาตรฐานมากขึ้น มีกลไกจัดเรียงเส้นไหมเพื่อจับผูกเรียงกันเป็นลำดับ  โดยเหล่งที่ใช้จะมีขนาดเส้นรอบวง 150 เซนติเมตร เมื่อใช้เหล่งนี้ทำเป็นไจแล้วจะได้เส้นไหมหนักประมาณ 100 กรัม ทำให้ผู้ผลิตสามารถคำนวณน้ำหนักและปริมาณการใช้งานเส้นไหมได้


จำนวน : 1 ชิ้น


เหล่ง จำลอง

ลักษณะ : ทำจากไม้เนื้อแข็ง โครงสร้างสำหรับพันเส้นด้ายมี 4 แขน แกนหมุนสามารถถอดออกจากขาตั้งได้ มีที่จับหมุน

ขนาด : ขาตั้งมีความสูง 22.5 เซนติเมตร ความกว้าง 25 เซนติเมตร ความยาว 33.5 เซนติเมตร ระหว่างหลักกว้าง 10 เซนติเมตร

เล่ง เหล่ง เล่ง เหล่ง เล่ง เหล่ง เล่ง เหล่ง


บรรณานุกรม :

งานข้อมูลท้องถิ่น. (2557). การสาวไหม ใน ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน บ้านสมพรรัตน์ ต.หนองสะโน อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562, http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/sompornrat