การสร้างฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกรูปร่างและองค์ประกอบของโบราณวัตถุ

หัวหน้าโครงการ: เรวัฒน์ เหล่าไพบูลย์

รายงานได้นำเสนอเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์โบราณวัตถุ การวิเคราะห์ตัวอย่างโบราณวัตถุเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การบันทึกข้อมูลรูปร่างลักษณะและองค์ประกอบของธาตุในตัวอย่างโบราณวัตถุ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

kula

แหล่งโบราณคดีและที่มาของตัวอย่างโบราณวัตถุที่ทำการศึกษา

จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยเรื่องพิธีกรรมการทำศพ ทำให้ทราบว่าการประกอบพิธีกรรมการทำศพเริ่มมีครั้งแรกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ ต่อมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีพบหลักฐานการประกอบพิธีกรรม 2 ลักษณะ คือ การฝัง (interment) และการเผาศพ (cremation) เมื่อ 2500 ปีที่ผ่านมาหรือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายบริเวณแอ่งโคราชหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้พบพิธีกรรมที่แตกต่างออกไป คือ การฝังศพครั้งที่ 2 (secondary burial) กล่าวคือเป็นการนำศพไปฝัง ณ ที่ใดที่หนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง แล้วขุดขึ้นมาเพื่อบรรจุในภาชนะเครื่องปั้นดินเผา (burial jar) แล้วนำไปฝัง

kula2

การศึกษานี้ได้เก็บตัวอย่างจากแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเมืองบัว หมู่ที่ 6 ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 15 องศา 36 ลิปดา 20 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศา 55 ฟิลิปดาตะวันตก ลักษณะเป็นชุมชนโบราณ มีคูน้ำล้อมรอบ รูปร่างค่อนข้างรี กว้างประมาณ 1000 เมตร ยาวประมาณ 1200 เมตร ภายในเป็นเนินดินสูงประมาณ 7-10 เมตร จากพื้นที่โดยรอบ เมืองโบราณบ้านเมืองบังนั้นเป็นหนึ่งในจำนวนเมืองโบราณอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเสียวใหญ่และลำเตา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำมูล เมืองโบราณบ้านเมืองบัวตั้งอยู่ในบริเวณลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ ลำน้ำเสียวและลำเตา ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมมากที่คนไทยโบราณเลือกใช้ตั้งถิ่นฐานตลอดมา

รายละเอียดเพิ่มเติมการสร้างฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกรูปร่างและองค์ประกอบของโบราณวัตถุ รายงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2547